Page 79 -
P. 79
ื
์
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ิ
ิ
77
แพนครีเอทิกลิเปสเป็นเอนไซม์ที่มีอยู่ในน้ าย่อยจากตับอ่อน จะเลือกย่อยเฉพาะลิปิดที่ถูก
กระตุ้นด้วยน้ าดีและที่พันธะเอสเทอร์ของไตรกลีเซอไรด์ ต าแหน่ง α มากกว่าต าแหน่ง β ได้เป็นกรด
ไขมันอิสระกับโมโนกลีเซอไรด์ เอนไซม์นี้ท างานได้ดีเมื่อลิปิดถูกกระตุ้นด้วยน้ าดีแล้วเช่นเดียวกับการ
ท างานของเอนไซม์ลิเปส โดยย่อยสลายพันธะเอสเทอร์ของคลอเลสเทอรอล เอสเทอร์และโมโนกลีเซอ
ไรด์ได้ผลผลิตเป็นกรดไขมันอิสระ คลอเลสเทอรอลและกลีเซอรอล ฟอสโฟลิเปสเป็นเอนไซม์ในน้ าย่อย
จากตับอ่อน ฟอสโฟลิเปสมีหลายชนิดแต่ที่มีมากที่สุด คือ ฟอสโฟลิเปส A ท าหน้าที่เร่งการย่อยสลาย
ฟอสโฟกลีเซอไรด์ตรงพันธะเอสเทอร์ได้กรดไขมันและไลโซฟอสโฟกลีเซอไรด์ (Lysophosphoglyceride)
1.2 การดูดซึมลิปิดที่เซลล์ล์เยื่อบุผนังล าไส้
1.2.1 การดูดซึมผ่านระบบน าเหลือง (Lymphatic route)
ผลิตผลที่ได้จากการย่อยลิปิดด้วยเอนไซม์ลิเปสและเอสเทอเรสเป็นสารประเภทละลายน้ ายาก
เช่น β-โมโนกลีเซอไรด์ กรดไขมันและคลอเลสเทอรอล เป็นต้น ท าให้ร่างกายต้องใช้กลวิธีพิเศษส าหรับ
พาสารเหล่านี้ผ่านเยื่อบุผนังล าไส้ เนื่องจากบริเวณที่ชิดกับเยื่อบุผนังล าไส้เป็นบริเวณที่มีน้ าเคลือบคลุม
อยู่เรียกบริเวณนี้ว่า “Unstirred water layer” มีสภาพพิเศษมีการฟุ้งกระจายของโมเลกุลของน้ าน้อย
กว่าบริเวณอื่น ในการซึมผ่านของสารลิปิดที่ถูกย่อยแล้วต้องรวมตัวกับน้ าดีกลายเป็นไมเซลล์ล์ผสม
(Mixed micelles) จึงสามารถผ่านเซลเยื่อบุผนังลาไส้เข้าสู่เซลผนังล าไส้ต่อไป จากนั้นน้ าดีได้แยกตัว
ออกคงเหลือแต่สารลิปิดที่ถูกย่อยสลาย เมื่อผลิตผลของลิปิดผ่านเข้าเซลของล าไส้จะเกิดการรวมตัวกัน
ใหม่ได้เป็นไตรกลีเซอไรด์ ฟอสโฟกลีเซอไรด์และเอสเทอร์ของคลอเลสเทอรอล แต่ลิปิดเหล่านี้อาจมีชนิด
ขององค์ประกอบของโครงสร้าง เช่น กรดไขมัน แตกต่างจากเมื่อก่อนถูกย่อย กระบวนการสังเคราะห์
สารลิปิดขึ้นใหม่นี้เรียกว่า “Reesterification” สารลิปิดที่รวมตัวกันใหม่นี้ส่วนใหญ่ยังคงเป็นไตรกลีเซอ
ไรด์ คือ ประมาณร้อยละ 80 ที่เหลือเป็นฟอสโฟกลีเซอไรด คลอเลสเทอรอลและเอสเทอร์ของคลอ
์
เลสเทอรอล ประมาณร้อยละ 9.3 และ 2 ตามล าดับ ทั้งนี้ในการรวมตัวกันของลิปิดเหล่านี้ต้องใช้
พลังงานด้วย พบว่าใน 1 โมลของไตรกลีเซอไรด์ที่สังเคราะห์ขึ้นใหม่นี้ต้องใช้พลังงาน 2 ATP
การขนส่งสารลิปิดที่เกิดขึ้นใหม่ออกจากเซลผนังล าไส้ เข้าสู่กระแสโลหิตและน้ าเหลืองเพื่อไปสู่
เนื้อเยื่อต่างๆ ต้องสังเคราะห์เป็นสารประกอบที่ละลายในน้ าได้ดี โดยการน าลิปิดไปรวมตัวกับโปรตีน
ชนิดพิเศษ เกิดเป็นไลโพโปรตีนชนิดต่างๆ เช่น ไคโลโมครอน เพื่อท าหน้าที่ขนส่งลิปิดจากเซลล าไส้เข้าสู่
น้ าเหลือง (Lymph) และพาเข้าสู่กระแสโลหิต โดยผ่านทางท่อทอราซิก (Thoracic duct) ระดับของ
์
ลิปิด (ส่วนใหญ่คือไตรกลีเซอไรด) ในกระแสโลหิตขึ้นสูงสุดภายหลังรับประทานอาหารประมาณ 4-5
ชั่วโมง เรียกสภาวะนี้ว่า “Post-alimentary lipemia” ภาวะเช่นนี้ท าให้พลาสมามีลักษณะขุ่นโดยการ
ปรากฏตัวของไลโพโปรตีน ในขณะที่ไลโพโปรตีนพาลิปิดไปตามกระแสโลหิตนั้นจะมีการย่อยสลายไตร
บทที่ 2 สารอาหารและเมตาบอลิซึมในร่างกายสัตว์