Page 67 -
P. 67

์
                      โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                 ิ
                                     ิ
                                                                           ิ
                                   ื
                                              ิ
                                                           65

                  หายใจโดยใช้ออกซิเจน ซึ่งได้จากการสูดอากาศเข้าไป ปริมาณของออกซิเจนที่สูดเข้าไปและ
                  คาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกขับออกมาขึ้นอยู่กับอาหารที่กินเข้าไปและการท างานของร่างกาย นอกจากนี้

                  Lavoisier และ Laplace ได้ออกแบบแคลลอรี่มิเตอร์ (Calorimeter) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่แสดงให้
                  เห็นว่าการหายใจเป็นแหล่งส าคัญของความร้อนภายในร่างกาย จากนั้นมาได้ค้นพบไวตามิน ค้นพบ

                  บทบาทของกรดอะมิโน (Amino acid) และแร่ธาตุที่ส าคัญหลายอย่าง ซึ่งก่อนหน้านี้เข้าใจว่ามีอาหาร

                  เพียง 3 ชนิดเท่านั้นที่ร่างกายต้องการคือ โปรตน ไขมันและคาร์โบไฮเดรต ความรู้มากมายในด้านอาหาร
                                                        ี
                  มีผลโดยตรงมาจากปัญหาทางอาหาร ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ ปัจจุบันได้ทราบกัน

                  แล้วว่าร่างกายมีความต้องการอาหารที่แตกต่างกันถึง 40 ชนิด

                                                       ้
                                                          ี
                         ศาสตร์ด้านโภชนาการ ความรู้ทางดานชวเคมีถือว่าเป็นพื้นฐานที่ส าคัญที่สุดในการน ามาใช้ เพื่อ
                  อธิบายกระบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism) ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อสิ่งมีชีวิตได้รับอาหารเข้าไปแล้ว
                  ทั้งนี้ในการน าอาหารเข้าสู่ร่างกายอย่างถูกต้องและตรงตามความต้องการ นอกจากจะเป็นการกระตุ้น

                  การเจริญเติบโตและเพื่อการท ากิจกรรมต่างๆ ของร่างกายแล้ว ยังส่งผลต่อการช่วยป้องกันโรค ทั้งนี้
                  นัยนา (2553) ได้สรุปถึงศาสตร์ชีวเคมีที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการไว้ คือ


                         1. เป็นการศึกษากระบวนการเกิดปฏิกิริยาของโภชนะจากอาหารแต่ละชนิด ที่เกิดขึ้นภายใน

                  เซล โดยโภชนะแต่ละชนิดอาจมีบทบาทที่เกี่ยวข้องและส่งเสริมการให้เกิดปฏิกิริยาของสารอาหารอื่นๆ
                  ได้

                         2. เป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายที่มีการท างานเกี่ยวเนื่องกันใน

                  กระบวนการทางชีวเคมีหนึ่งๆ
                         3. เป็นการศึกษากลไกการควบคุมปฏิกิริยาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการทางชีวเคมี

                  โดยอาจจะต้องอาศัยเอนไซม์หรือฮอร์โมนหลายๆ ชนิด
                         4. เป็นการศึกษาถึงความต้องการของโภชนะ (Nutrient requirement) ในแต่ละช่วงการ

                  เจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ


                                          ื่
                         5. เป็นการศึกษาเพอประเมินสภาวะของโภชนะในช่วงต่างๆ ว่ามีเพียงพอต่อความต้องการหรือ
                  ต่ ากว่าความต้องการหรือมากเกินความจ าเป็นของร่างกายหรือไม่เพียงใด ซึ่งถ้าเกิดความไม่สมดุล
                  ร่างกายจะมีกระบวนการหรือกลไกทางชีวเคมีเกิดขึ้น เพื่อท าหน้าที่ในการควบคุมให้ร่างกายสิ่งมีชีวิตอยู่

                  ในสภาวะที่ปกติได  ้


                         บุญล้อม (2546) ได้ให้ความหมายของโภชนศาสตร์สัตว์ (Animal nutrition) คือเป็นศาสตร์ที่

                  เกี่ยวข้องกับสารต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบในอาหาร เมื่อรับได้รับอาหารเข้าไปจะเกิดกระบวนการย่อย
                  สลาย การดูดซึม โดยผ่านกระบวนการทางชีวเคมี แล้วน าไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ในร่างกาย ส าหรับ



                   บทที่ 2   สารอาหารและเมตาบอลิซึมในร่างกายสัตว์
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72