Page 56 -
P. 56

์
                                                                           ิ
                      โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                   ื
                                                                 ิ
                                              ิ
                                     ิ
                                                           54

                         สังกะสี (Zinc, Zn)


                         แร่ธาตุสังกะสีเป็นองค์ประกอบของเอนไซม์หลายชนิด เช่น DNA และ RNA synthetases แร่

                  ธาตุสังกะสีมีความจ าเป็นและใช้ในการสังเคราะห์กรดอะมิโนทริฟโตเฟน  เป็นส่วนประกอบของฮอร์โมน

                  อินซูลิน  (Insulin)  และเอนไซม์หลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับเมตาบอลิซึมของโปรตีน  คาร์โบไฮเดรต  ไขมัน

                  และกรดนิวคลีอิก เช่น Carbonic anhydrase และ Glutamic acid dehydrogenase เป็นต้น แร่ธาต ุ

                  สังกะสีช่วยในการเจริญเติบโตของสัตว์  นอกจากนี้แร่ธาตุสังกะสียังมีบทบาทต่อการเจริญของเยอบุผิว
                                                                                                  ื่
                  เช่น   เยื่อบุผิวหนังและเยื่อบุผนังล าไส้เล็ก   การน าแร่ธาตุสังกะสีจากอาหารไปใช้ประโยชน์มีความ

                  เกี่ยวข้องกับแร่ธาตุอื่นๆ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส ทองแดง แคดเมียมและกรดไฟติคในอาหาร ถ้าหาก

                  มีแร่ธาตุเหล่านี้สูงเกินไปจะท าให้การดูดซึมแร่ธาตุสังกะสีลดลง

                         บทบาทของแร่ธาตุสังกะสี  คือ  เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ต่างๆ  รวมถึงประกอบอยู่ในกรด

                  นิวคลีอิก  (Nucleic  acid)  และเกี่ยวข้องในขบวนการเผาผลาญสารอาหารโปรตีน  (Protein

                  metabolism)  ที่ส าคัญที่สุด  คือ  เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ที่ใช้สังเคราะห์ดีเอ็นเอ  หากขาดแร่ธาต ุ

                  สังกะสีจะท าให้เซลไม่สามารถสังเคราะห์ดีเอ็นเอได้

                         แหล่งของสังกะสี คือ ในวัตถุดิบอาหารสัตว์ทั่วไปจะมีแร่ธาตุสังกะสีระหว่าง 15-40 มิลลิกรัม/

                  กิโลกรัม   วัตถุดิบโปรตีนจากสัตว์จะประกอบด้วยสังกะสีในปริมาณมาก   ในขณะที่เอนโดสเปอร์ม

                  (Endosperm) ของธัญพืชจะมีสังกะสีในระดับต่ า กรณีที่สูตรอาหารมีการใช้วัตถุดิบจากพืชในปริมาณสูง

                  จ าเป็นต้องเสริมแร่ธาตุสังกะสีให้สูงขึ้นด้วย   สารประกอบสังกะสีจะดูดซึมได้ดีเมื่ออยู่ในรูปสังกะสี

                  ออกไซด์ (Zinc oxide) สังกะสีซัลเฟต (Zinc sulfate) และสังกะสีคาร์บอเนต (Zinc carbonate)

                         สังกะสีที่มีใช้และจ าหน่ายมีหลายรูปแบบ เช่น สังกะสีคีเลต (Zn-chelate) ซึ่งเกิดจากการน าแร่

                  ธาตุสังกะสีมาท า  Chelation  ด้วยการใช้สาร  Chelating  agents  หรือ  Metal-binding  agent  ซึ่ง

                  ตัวกลางที่นิยมน ามาใช้คือ  Ethylenediaminetetraacetic  acid  (EDTA)  เป็นสารที่มีความเสถียรสูง

                  และดูดซึมสู่ร่างกายได้ดี จึงท าให้เมื่อน า EDTA มาผลิตคีเลต (Chelate) จึงท าให้แร่ธาตุนั้นใช้ประโยชน์

                  ได้มากขึ้น นอกจาก EDTA แล้วยังมีการน าสาหร่ายทะเลมาใช้เป็นตัวกลางได้ด้วย












                   บทที่ 1   บทบาทและความส าคัญของอาหารสัตว์ต่อการผลิตปศุสัตว์
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61