Page 58 -
P. 58
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
์
ิ
ิ
ิ
ื
56
ไมโครกรัม/กรัมของแร่ธาตุก้อน หรือสัตว์จะต้องได้รับไม่เกิน 0.23 มิลลิกรัม/ตัว/วัน ในโค และไม่เกิน
1.0 มิลลิกรัม/ตัว/วัน ในแกะ ซิลิเนียมที่น ามาใช้จะอยู่ในรูปแบบทั้งที่เป็นสารประกอบอนินทรีย์ เช่น
โซเดียมซีลีไนท์ (Sodium selenite) โซเดียมซีลีเนต (Sodium selenate) และซีลีเนียมในรูป
สารประกอบอินทรีย์ เช่น ซีลีเนียมยีสต์ (Selenium enriched yeast) ซึ่งมีซีลีเนียมอยู่ในรูป
Selenomethionine, selenocysteine และ Methylselenocysteine
โครเมียม (Chromium, Cr)
โครเมียมเกี่ยวข้องกับเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีนและกรดนิวคลีอิก โครเมียม
ท าหน้าที่เป็นโคแฟคเตอร์ของอินซูลิน ในบางกรณีการให้กินโครเมียมอาจรักษาโรคเบาหวานได ้
โครเมียมเป็นองค์ประกอบในสารประกอบ Glucose tolerance factor ที่มีความส าคัญทั้งในคนและ
สัตว์ โครเมียมยังอยู่ในรูปสารประกอบ Trivalent chromium ที่พบในกรดอะมิโนและไวตามินบี 3
(Nicotinic acid หรือ Niacin) การเกิดภาวะ Glucose tolerance หมายถึง ความสามารถที่จะน า
กลูโคสในเลือดเข้าไปเก็บสะสมในเซล หากขาดความสามารถนี้จะท าให้เกิดภาวะกลูโคสในเลือดสูง
(Hyperglycemia) โครเมียมดูดซึมได้ดีหากอยู่ในรูปอินทรีย์ เช่น โครเมียมพิโคลิเนต (Chromium
picolinate) ซึ่งนิยมน าไปใช้เป็นสารเสริมอาหาร (Feed additive) ในอาหารสุกรขุน เพื่อช่วยลดการ
สะสมไขมันในเนื้อและท าให้ได้เนื้อแดงมากขึ้น ในอาหารที่ใช้ข้าวโพดและกากถั่วเหลืองจะพบโครเมียม
ระหว่าง 750-1,500 พีพีเอ็ม แต่ถูกดูดซึมต่ า ด้วยเหตุนี้ในการผลิตอาหารสัตว์จึงต้องเสริมโครเมียมลงใน
อาหาร
ในโคการให้โครเมียมช่วยท าให้ระบบตอบสนองภูมิคุ้มกันดีขึ้นและอัตราการเจริญเติบโตสูง ลูก
โคทนต่อภาวะความเครียดดีขึ้น ลดปอดบวมและป้องกันโรคทางเดินหายใจ รูปแบบของโครเมียมที่ใช้
ได้แก่ Cr-chloride, Cr-picolinate และ Cr-nicotinic acid
ฟลูออรีน (Fluorine, F)
ฟลูออรีนเป็นแร่ธาตุที่พบในปริมาณต่ ามาก 95% ของฟลูออรีนในร่างกายสัตว์พบที่กระดูกและ
ฟัน มีบทบาทช่วยเพิ่มความแข็งแรงของฟัน ปกติสัตว์จะได้รับฟลูออรีนจากอาหารสัตว์และน้ าอย่าง
เพียงพอตอความต้องการจึงไม่จ าเป็นต้องเสริม แต่ควรระมัดระวังไม่ให้สัตว์ได้รับฟลูออรีนมากเกินไป
่
บทที่ 1 บทบาทและความส าคัญของอาหารสัตว์ต่อการผลิตปศุสัตว์