Page 55 -
P. 55
์
ิ
ิ
ิ
ื
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ิ
53
แมงกานีส (Manganese, Mn)
แมงกานีสเป็นแร่ธาตุที่พบมากในกระดูกและอวัยวะสืบพันธุ์ มีบทบาทในการสังเคราะห์สารคลอน
โดรทิน ซัลเฟต (Chondroitin sulphate) ซึ่งเป็นส่วนประกอบส าคัญของมูโคโพลีแซคคาร์ไรด ์
(Mucopolysaccharide) ในกระดูกอ่อน (Cartilage) นอกจากนี้ยังมีบทบาทในการกระตุ้นเอนไซม์
หลายชนิด คือ Arginase และ Thiaminase เป็นต้น และมีความจ าเป็นส าหรับการสืบพันธุ์ตามปกติของ
ิ
สัตว์ทั้งเพศผู้และเพศเมีย เช่น ช่วยให้การเป็นสัดและการตกไข่เป็นปกต เป็นต้น
แมงกานีสจากอาหารดูดซึมได้น้อยมาก เพียง 2-5% ของปริมาณอาหารที่กินได้ ซึ่งในผักสีเขียว
ิ
แมงกานีสจะอยู่ในรูป trivalent ถ้าเตมแมงกานีสลงไปในอาหารจะมีผลท าให้เปอร์เซ็นต์การดูดซึมลดลง
แต่จะมีการดูดซึมอย่างสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น แมงกานีสจะไปยับยั้ง (Antagonist) แร่ธาตุโมลิดินั่มและมี
ู
ผลกระตุ้น Nitrate reductase การดดซึมแมงกานีสจากระบบทางเดินอาหารจะมีความสัมพันธกับ
์
แคลเซียมและฟอสฟอรัสในอาหาร หากแคลเซียมและฟอสฟอรัสในอาหารสูงเกินไป จะเกิดการ
ตกตะกอนระหว่างแคลเซียมและฟอสฟอรัส ในรูปแคลเซียมฟอสเฟตและแมงกานีสจะตกตะกอนด้วย
การให้อาหารที่มีธาตุเหล็กสูงจะลดการดูดซึมแมงกานีสเช่นกัน
แมงกานีสส่วนใหญ่จะมีการดูดซึมที่ล าไส้เล็กส่วนต้น (Duodenum) การดูดซึมแมงกานีสจะ
เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากเลือดเข้าสู่ตับ กระดูกและขน ซึ่งเป็นต าแหน่งหลักที่มีการสะสมแมงกานีสใน
ร่างกาย แร่ธาตุแมงกานีสมีคุณสมบัติออกฤทธิ์ (Bioavailability) ต่ า ในโคที่ได้รับแมงกานีสจะสามารถ
น ามาใช้ได้ 1-4% ในสัตว์ปีกมีความต้องการแมงกานีสสูง ทั้งนี้อาจเนื่องจากมีการให้แคลเซียมสูงในสูตร
อาหารสัตว์ปีก ซึ่งแคลเซียมที่สูงจะยับยั้งการดูดซึมแมงกานีสเช่นกัน
แหล่งของแมงกานีส คือ แมงกานีสมีมากในร าข้าวและส่าเหล้า ในน้ านมและข้าวโพดจะมี
แมงกานีสต่ า ตามปกติในอาหารสัตว์มักมีแมงกานีสไม่เพียงพอจ าเป็นต้องเสริมในอาหารในรูปของ
แมงกานีสซัลเฟต (Manganese sulfate) แมงกานีสออกไซด์ (Manganese oxide) แมงกานีส
คาร์บอเนต (Manganese carbonate) และแมงกานีสคลอไรด์ (Manganese chloride)
บทที่ 1 บทบาทและความส าคัญของอาหารสัตว์ต่อการผลิตปศุสัตว์