Page 54 -
P. 54

โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                              ิ
                                                ์
                                   ื
                                                                 ิ
                                                                           ิ
                                     ิ
                                                           52

                         โคบอลต์ (Cobalt, Co)


                         โคบอลต์เป็นส่วนประกอบของไวตามินบี 12 ซึ่งเกี่ยวกับการสร้างเม็ดเลือดแดงและมีหน้าที่ใน

                  การกระตุ้นปฏิกิริยาของเอนไซม์บางตัวอีกด้วย การขาดโคบอลต์มักท าให้เกิดการขาดไวตามินบี 12 โดย

                  มักจะเกิดขึ้นในสัตว์เคี้ยวเอื้องที่ได้รับหญ้าหรือพืชที่ปลูกบนพื้นดินที่มีระดับโคบอลต์ต่ า ทั้งนี้เนื่องจาก

                  จุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนได้รับโคบอลต์ไม่เพียงพอส าหรับการสร้างไวตามินบี 12 แต่ในสัตว์กระเพาะ

                  เดี่ยวมักไม่เกิดการขาดโคบอลต์ เนื่องจากตามปกติจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารของสัตว์กระเพาะ

                  เดี่ยวมีความสามารถในการสร้างไวตามินบี 12 ได้ ดังนั้นสัตว์กระเพาะเดี่ยวจึงมีความต้องการโคบอลต์

                  เพื่อใช้สร้างไวตามินบี 12 เพียงเล็กน้อยเท่านั้นและในอาหารสัตว์มักเสริมไวตามินบี 12 อยู่แล้ว

                         บทบาทของโคบอลต์สามารถดูได้จากบทบาทของไวตามินบี 12 เนื่องจากโคบอลต์เป็น

                  ส่วนประกอบของไวตามินบี 12 บทบาทของไวตามินบี 12 คือ ควบคุมกระบวนการ Hemopoiesis

                  (กระตุ้นการสังเคราะห์ Protoprophyrin) และเกี่ยวข้องกับเมแทบอลิซึมของไนโตรเจน กรดนิวคลีอิก

                  คาร์โบไฮเดรตและแร่ธาตุ โดยไวตามินบี 12 ท าหน้าที่เป็น Co-enzyme ในกระบวนการ

                  Transmethylation (ในการสังเคราะห์กรดอะมิโนเมทไธโอนีน) การสร้างมีเทน (Methane) การ

                  สังเคราะห์กรดอะซิติกจากคาร์บอนไดออกไซด์และการขนส่งออกซิเจน (Oxygen transfer,

                  Glutamate, Methyl malaonine coenzyme A-mutase, Idol dehydratase reactions, การรี

                  ดักชั่นของ Ribonucleotide เป็น Deoxyribonycleotides, isomerization of β-lysine) และ

                  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสัตว์เคี้ยวเอื้อง โคบอลต์เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ของกรดโพรพิโอนิก ใน

                  ปฏิกิริยาของ Mutase ในการเปลี่ยน Methylmalonyl-CoA เป็น Succinyl CoA

                         แหล่งของโคบอลต์ คือ อาหารส่วนใหญ่จะมีโคบอลต์อยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในหญ้าที่ใช้เลี้ยง

                  สัตว์จะมีโคบอลต์อยู่ประมาณ 0.1-0.25 มิลลิกรัม/กิโลกรัม อาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องสามารถเสริมโคบอลต์

                  ในรูปโคบอลต์ซัลเฟต การป้องกันการขาดโคบอลต์ท าได้โดยให้สัตว์ได้เลียกินแร่ธาตุอย่างอิสระ จึงต้อง

                  เสริมโคบอลต์ในอาหารเกลือแร่ในอัตรา 100 กรัม/100 กิโลกรัมของแร่ธาตุรวม (Mineral mix) แต่

                  สามารถใช้ได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น การแก้ไขที่ถูกต้อง คือ การปรับปรุงสภาพดินให้มีความ

                  เข้มข้นของแร่ธาตุโคบอลต์เพิ่มขึ้น










                   บทที่ 1   บทบาทและความส าคัญของอาหารสัตว์ต่อการผลิตปศุสัตว์
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59