Page 60 -
P. 60
ื
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ิ
ิ
ิ
์
ิ
58
สรุป
อาหารสัตว์ (Feed) หมายถึง วัตถุดิบที่สัตว์กินได้ รวมถึงหญ้าและหญ้าตากแห้ง (Hay) อย่างไร
ก็ตามส่วนประกอบของอาหารเหล่านี้ ส่วนที่สัตว์น าไปใช้ได้นั้น เรียกว่า “สารอาหารหรือโภชนะ
(Nutrients)” โดยมีการจ าแนกสารอาหารได้ดังนี้คือ
1.การจ าแนกสารอาหารตามสมบัติทางเคมี สามารถแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต
ไขมัน โปรตีน ไวตามิน แร่ธาตุและน้ า ซึ่งสารอาหารเหล่านี้เมื่อรับประทานเข้าไปจะถูกเผาผลาญให้เกิด
เป็นพลังงานหรือน าไปใช้ควบคุมการท างานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย
2.การจ าแนกสารอาหารโดยใช้เกณฑ์การให้พลังงานของสารอาหาร จะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มสารอาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน และกลุ่มสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน
ได้แก่ ไวตามิน แร่ธาตุและน้ า
็
อาหารสัตว์เปนปัจจัยส าคัญอันดับหนึ่งในการเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้สัตว์ที่เลี้ยงมีการเจริญเติบโตและ
การให้ผลผลิตที่ดี รวมทั้งการสร้างภูมิต้านทานโรคของสัตว์ชนิดต่างๆ ความส าคัญของอาหารสัตว์คือ
อาหารเป็นต้นทุนที่คิดเป็นร้อยละต่อต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ทั้งหมดประมาณ 60-70% อาหารสัตว์มีผลต่อ
อัตราการเจริญเติบโตของสัตว์ คุณภาพซาก (ปริมาณเนื้อแดงและไขมัน) ประสิทธิภาพการใช้อาหารหรือ
สัดส่วนอาหารต่อน้ าหนักตัวที่เพิ่มขึ้น สุขภาพและภูมิต้านทานโรค สมรรถภาพการสืบพันธุ์ของสัตว์
ปริมาณผลผลิต เช่น ไข่และนม และอายุการใช้งานของสัตว์ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่าอาหารสัตว ์
มีบทบาทและมีความส าคัญต่อการผลิตปศุสัตว์เป็นอย่างมาก เพราะหากสัตว์ได้กินอาหารที่มีคุณภาพที่ดี
จะท าให้ต้นทุนในการเลี้ยงสัตว์ลดลงและท าให้สามารถเลี้ยงสัตว์เพื่อประกอบอาชีพสร้างรายได้ที่มั่นคง
บทที่ 1 บทบาทและความส าคัญของอาหารสัตว์ต่อการผลิตปศุสัตว์