Page 56 -
P. 56

ิ
                                 ื
                                    ิ
                                             ิ
                                                ์
                                                                   ิ
                  โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                มีความเปนไปไดนอยที่จะทำใหเกิดความตานทาน ดังนั้นสารพิษคิลเลอรจึงไดถูกเสนอเปน

                ตัวควบคุมทางชีวภาพที่มีศักยภาพ อยางไรก็ตามควรมีการประเมินผลของสารพิษคิลเลอรตอ

                จุลินทรียที่มีประโยชนโดยเฉพาะที่ผิวของพืช ผลิตภัณฑที่รับประทานได และในทางเดินอาหารของ

                คน (Corbaci and Ucar 2018; Liu et al. 2015; Marquina et al. 2001; Perez et al. 2016; Zhang et

                al. 2020) สารพิษคิลเลอรที่ผลิตจาก W. anomalus BS91 แสดงกิจกรรมของเอนไซมกลูคาเนส และ

                สัมพันธกับความสามารถในการควบคุมทางชีวภาพตอ B. cinerea, P. digitatum, P. italicum,

                Monilinia fructigena และ M. fructicola (Aloui et al. 2015; Grzegorczyk et al. 2017; Parafati et al.      บทที่ 2

                2015; 2017b; Platania et al. 2012) สำหรับ Pichia membranifaciens พบวาสรางสารพิษคิลเลอรที่

                สามารถควบคุม B. cinerea ซึ่งเปนสาเหตุของโรคราสีเทาขององุนได (Santos and Marquina 2004)

                นอกจากนั้นยังพบวา P. membranaefaciens ผลิตสารพิษคิลเลอร 2 ชนิด ที่มีผลกับ 1-6 บีตา-

                กลูแคน และแมนโนโปรตีนที่ผนังเซลล ดังนั้นจึงยับยั้งราโรคพืชได (Belda et al. 2017) สวน

                Pseudozyma flocculosa ซึ่งเปนยีสตที่ใชควบคุมทางชีวภาพสรางฟล็อกคูโลซิน (flocculosin) ซึ่งเปน

                เซลโลไบโอสลิพิด (cellobiose lipid) ที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ (Mimee et al. 2005; Teichmann et al.

                2011)

                          สารปฏิชีวนะ กลุมสารอินทรียที่ผลิตโดยจุลินทรียจากเมแทบอลิซึมและมีผลในการยับยั้ง

                หรือฆาจุลินทรียอีกชนิดหนึ่งเมื่อใชในความเขมขนต่ำ สารปฏิชีวนะเปนสารทุติยภูมิ (secondary

                metabolites) มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ จุลินทรียสรางและปลดปลอยออกมานอกเซลล (Pal and

                Gardener 2006; Tjamos et al. 2010) จุลินทรียที่มีรายงานวาสรางสารปฏิชีวนะสวนใหญเปน

                แบคทีเรียและราเสนใย สวนยีสตยังไมมีรายงานการสรางสารปฏิชีวนะ สารปฏิชีวนะบางชนิด

                มีรายงานวากดการเกิดโรคพืช โดยการยับยั้งการเจริญของรากอโรคพืชเหลานั้นในหลอดทดลอง

                หรือในพืชหรือทั้ง 2 อยาง เชน เบซิลโลมัยซิน ดี (bacillomycin D) ซึ่งเปนลิพอเพ็ปไทด (lipopeptide)

                ผลิตโดย Bacillus subtilis AU195 มีกิจกรรมการเปนปฏิปกษตอ Aspergillus flavus ที่ผลิตแอฟลา-

                ท็อกซิน (aflatoxin) (Moyne et al. 2001) และ ไมคอซับทิลิน (mycosubtilin) ผลิตโดย Bacillus subtilis

                BBG100 สามารควบคุมทางชีวภาพโรคเนาคอดิน (damping-off) ของตนกลามะเขือเทศ ที่มีสาเหตุ

                จาก Pythium aphanidermatum (Leclere et al. 2005)


                ภาวะปรสิต (Parasitism)


                          ภาวะปรสิตคือปฏิสัมพันธระหวางสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดซึ่งสิ่งมีชีวิตไดรับสารอาหารจาก

                สิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ถาตัวใหอาศัย (host) เปนปรสิตเชนกัน เชน โรคพืช ปฏิสัมพันธนั้นเรียกวา

                ไฮเปอรพาราซิทิซึม (hyperparasitism) จุลินทรียปฏิปกษบางชนิดเปนปรสิตของเชื้อกอโรคพืชซึ่งถือ





                                                          การประยุกตใชยีสตเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมยุคใหม      47
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61