Page 60 -
P. 60

ิ
                                    ิ
                                 ื
                  โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                ์
                                                                              ิ
                                                                   ิ

                          นอกจากสารอาหารประเภทคารโบไฮเดรต ไนโตรเจน และออกซิเจนแลว เหล็กเปนธาตุ

                อาหารที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งสำหรับของจุลินทรียรวมทั้งมีบทบาทสำคัญในความรุนแรงของ

                เชื้อกอโรค ในเซลลรารวมทั้งยีสตเหล็กเปนองคประกอบของไซโทโครมและโปรตีนหลายชนิดทั้ง

                ฮีมโปรตีน (heme protein) และโปรตีนที่ไมใชฮีมโปรตีน (Dukare et al. 2018) การแขงขันเพื่อธาตุ

                เหล็กเปนกลไกที่สำคัญของยีสตปฏิปกษบางชนิดที่ใชสำหรับการควบคุมทางชีวภาพ (Spadaro and

                Droby 2016; Zhang et al. 2020) โดยทั่วไปในภาวะปกติเหล็กจะอยูในรูปของเฟอรริกไฮดรอกไซด

                                                 3+
                Fe(OH)  หรือเฟอริกไอออน (Fe ) ซึ่งเปนรูปที่ละลายไดนอยทำใหจุลินทรียนำไปใชภายในเซลล               บทที่ 2
                        3
                เพื่อการเจริญไดนอย จึงจัดเปนปจจัยหนึ่งที่จำกัดการเจริญของจุลินทรีย ดังนั้นจึงตองอาศัยสารที่

                จะทำใหเกิดปฏิกิริยารีดักชันเพื่อเปลี่ยนรูปของเหล็กใหเปนเฟอรัสไอออน (Fe ) ซึ่งละลายไดมากขึ้น
                                                                                           2+
                (Philpott and Protchenko 2008) สารดังกลาวคือ ไซเดอโรฟอร (siderophore) ซึ่งเปนสารประกอบที่

                                                               3+
                มีมวลโมเลกุลต่ำ มีความชอบเฟอริกไอออน (Fe ) เพราะมีโครงสรางที่จำเพาะ จุลินทรียหลายชนิด
                รวมทั้งยีสตสามารถสรางไซเดอโรฟอร สายพันธุที่สรางไซเดอโรฟอรไดดีมีบทบาทสำคัญในการกด

                การเกิดโรค (disease suppression) และสามารถเลือกมาใชในการควบุมทางชีวภาพโดยการแขงขัน

                กับเชื้อกอโรคเพื่อธาตุเหล็ก ยีสตปฏิปกษหลายสายพันธุสามารถสรางไซเดอโรฟอรทำใหนำธาตุ

                เหล็กเขาไปภายในเซลลไดดี สงผลใหเจริญไดดีกวารากอโรคที่ไมสรางไซเดอโรฟอร โดยเฉพาะเมื่อ

                อยูในภาวะที่มีธาตุเหล็กนอย (Braun and Braun 2002)  ยีสตปฏิปกษสวนใหญจะผลิตสารไซเดอร-

                โรฟอรประเภท ไฮดรอกซาเมต (hydroxamate) ที่มีความเสถียรสูงมาก เมื่อจับกับเหล็กแลวจะเกด
                                                                                                                ิ
                เปนสารประกอบเชิงซอนที่มีความแข็งแรง จึงทำใหยีสตปฏิปกษสามารถนำเหล็กเขาไปใชภายใน

                เซลลไดดีกวารากอโรค ดังนั้นกลไกการแขงขันเพื่ออาหารที่สำคัญอีกอยางหนึ่ง คือ การผลิต

                ไซเดอโรฟอร ซึ่งเปนเมแทบอไลททุติยภูมิ (secondary metabolite) ที่จุลินทรียผลิตเมื่ออยูในภาวะที่

                ไมมีธาตุเหล็กหรือมีในปริมาณต่ำมาก ไซเดอโรฟอรจะไปจับกับธาตุเหล็กที่อยูบริเวณรอบ ๆ รากพืช

                                                             
                ทำใหจุลินทรียอื่นไมสามารถนำธาตุเหล็กไปใช จากการขาดธาตุเหล็กทําใหราโรคพืชไมสามารถเพิ่ม
                จำนวนได ไซเดอโรฟอรมีโครงสรางทางเคมีไมนอยกวา 200 โครงสรางซึ่งขึ้นอยูกับชนิดของ

                จุลินทรีย์ที่ผลิต แบงเปน 3 ประเภท คือ ไฮดรอกซาเมต หรือไทโอไฮดรอกซาเมต (thiohydroxamate)

                คาทีโคเลต (catecholate) หรือฟีโนเลต (phenolate) และคารบอกซิเลต (carboxylate)  ยีสต M.

                pulcherrima สรางกรดพูลเชอรริมินิก (pulcherriminic acid) ซึ่งทำหนาที่จับเหล็ก เมื่อจับกับเหล็ก

                เปลี่ยนเปนรงควัตถุพลูเชอรริมิน (pulcherrimin) ซึ่งมีสีแดงทำใหโคโลนีของเชื้อเปนสีแดง การขาด

                ธาตุเหล็กลดการเจริญของรากอโรคพืช เชน B. cinerea, Alternaria alternat, P. expansum อยาง

                รุนแรง โดยพบวาสายพันธุกลายของ M. pulcherrima ซึ่งไมมีสีมีกิจกรรมตอตานราลดลง และ

                การแขงขันเพื่อธาตุเหล็กนี้เปนกลไกหนึ่งในหลายกลไกของยีสตทีเปนปฏิปกษกับราโรคพืช อยางไรก็
                                                                               ่



                                                          การประยุกตใชยีสตเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมยุคใหม      51
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65