Page 29 -
P. 29
ิ
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
์
ิ
ื
การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของแป้งหมักขนมจีนระหว่างการหมัก
การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของแป้งหมักขนมจีนเกิดจากกิจกรรมของ
จุลินทรีย์ในระหว่างการหมัก ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพของขนมจีนทั้งด้าน
เนื้อสัมผัส กลิ่นรส และอายุการเก็บของขนมจีน การเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่
สำคัญ ได้แก่
1. การเปลี่ยนแปลงปริมาณโปรตีนในแป้งหมัก
การหมักทำให้ปริมาณโปรตีนในแป้งหมักลดลงอย่างรวดเร็วภายในวันที่ 1
ของการหมักข้าว ซึ่งเป็นการหมักแบบแห้ง จากนั้นปริมาณโปรตีนจะค่อย ๆ
ลดลงจนสิ้นสุดกระบวนการหมัก (ภาพที่ 7 (ก)) และเมื่อเปรียบเทียบเนื้อสัมผัส
ของเส้นขนมจีนโดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ พบว่าขนมจีนแป้งหมักที่มีปริมาณ
โปรตีนต่ำกว่า มีเนื้อสัมผัสที่เหนียวและยืดหยุ่นกว่าขนมจีนแป้งสดที่มีปริมาณ
โปรตีนสูงกว่า
2. การเปลี่ยนแปลงค่าพีเอชและความเป็นกรดในแป้งหมัก
สำหรับการเปลี่ยนแปลงค่าพีเอชระหว่างการหมัก คณะผู้วิจัยพบว่าค่า
พีเอชเริ่มต้นของข้าวเท่ากับ 5.5 และค่าพีเอชจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 7.0 ใน
ระหว่างการหมักข้าววันที่ 1 ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับการย่อยโปรตีน จากนั้นจึง
ลดลงเรื่อย ๆ จนต่ำกว่า 4.0 เมื่อสิ้นสุดการหมัก ซึ่งเป็นระดับพีเอชที่เป็นกรด
และสามารถยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เส้นขนมจีนเน่าเสีย และเชื้อก่อโรค
ในระบบทางเดินอาหาร ดังนั้นแป้งหมักขนมจีนที่ดีจึงควรมีค่าพีเอชที่ต่ำกว่า 4.0
การลดลงของค่าพีเอชเกิดจากกรดอินทรีย์ เช่น กรดแลคติก และกรดน้ำส้ม
(กรดอะซิติก) ที่ผลิตจากเชื้อแลคติกแอซิดแบคทีเรีย ซึ่งเป็นจุลินทรีย์หลักที่พบใน
แป้งหมักขนมจีน และค่าความเป็นกรดโดยภาพรวมจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการ
หมัก (ภาพที่ 7 (ข))
26 | คู่มอการป้องกันการเน่าเสียแบบเหลวเป็นน้ำของขนมจีน
ื