Page 81 -
P. 81

ิ
                                           ิ
                                               ์
                                 ิ
                                                                                ิ
                              ื
              โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                        สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

                                3) ตัวแบบเชิงระบบ (System model) ยึดตามหลักปัจจัยนำเข้า (Input) และปัจจัยนำ
                 ออก (Output) โดยสิ่งที่นำเข้ามาคือ ปัญหา ความต้องการ ข้อเรียกร้องของประชาชนที่มีต่อระบบ และสิ่งที่
                 นำออกไปคือนโยบายสาธารณะที่ผ่านกระบวนการการตัดสินใจแล้ว สุดท้ายผลจากนโยบายจะถูกสะท้อนกลับ

                 เข้ามาในระบบอีก โดยจะมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงบางสิ่ง เพื่อให้ระบบเกิดความสมดุล
                                4) ตัวแบบสถาบัน (Institutional model) กำหนดนโยบายสาธารณะโดยสถาบัน

                 ทุกสถาบันต่างมีกรอบการปฏิบัติ ระเบียบ แบบแผน และขั้นตอนต่างๆ ซึ่งกำหนดไว้ชัดเจนแล้ว เมื่อนโยบาย

                 ผ่านขั้นตอนตามระเบียบแล้ว จะมีผลบังคับใช้ หากไม่ปฏิบัติตามอาจมีบทลงโทษตามกฎหมาย
                                5) ตัวแบบกระบวนการ (Process model) ยึดถือแนวคิดการจำแนกรูปแบบของกิจกรรม

                                   ื่
                                                                             ั
                 หรือกระบวนการ เพอแสวงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหานำไปสู่การพฒนาข้อเสนอหรือทางเลือกนโยบาย
                 ซึ่งกระบวนการจะเริ่มจากการจำแนกปัญหา การจัดทำนโยบาย การลงมติความเห็นชอบต่อนโยบาย การนำ
                 นโยบายไปปฏิบัติ และการประเมินนโยบาย ถึงแม้ว่านโยบายสาธารณะส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้ภายใต้กรอบ

                                                                                                   ั
                                                                       ี
                 ความคิดตัวแบบกระบวนการ แต่จะมีความสำเร็จมากน้อยเพยงใด ต้องขึ้นอยู่กับระดับการพฒนาของ
                 สังคมด้วย
                                6) ตัวแบบหลักเหตุผล (Rational model) ยึดหลักนโยบายที่มุ่งเน้นผลประโยชน์สูงสุดทาง

                 สังคม โดยจะเลือกนโยบายที่ให้ผลตอบแทนทางสังคมมากกว่าต้นทุนที่จ่ายไป และยกเลิกหรือหลีกเลี่ยง
                 นโยบายที่มีความเสี่ยง โดยไม่ได้เปรียบเทียบจากมูลค่าของเงินเท่านั้น ต้องคำนึงถึงมูลค่าทั้งหมดในทางสังคม

                 ทางการเมือง และทางเศรษฐกิจที่จะต้องสูญเสีย สามารถคำนวณอตราส่วนระหว่างต้นทุนและผลตอบแทนของ
                                                                      ั
                 แต่ละนโยบายได้ และให้เลือกนโยบายที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

                                7) ตัวแบบการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วน (Incremental model) เป็นตัวแบบที่เกิดจาก

                                                                                                    ื่
                 การผสมผสานกันโดยอาศัยจุดแข็งของแต่ละตัวแบบให้สอดคล้องกับนโยบายแต่ละลักษณะ เพอขยาย
                 ความสามารถในการอธิบายการกำหนดนโยบายให้มีความครอบคลุมและชัดเจนยิ่งขึ้น


                         2.4.5 การวิเคราะห์นโยบาย



                                1) กระบวนการวิเคราะห์นโยบาย


                                การจำแนกกระบวนการวิเคราะห์นโยบายตามแนวความคิดของ สมบัติ (2552) ได้จำแนก

                 ระเบียบวิธีการวิเคราะห์ที่สำคัญได้ 5 ประการดังนี้


                                ประการที่ 1 การกำหนดโครงสร้างของปัญหา (Problem structuring) เป็นการรวบรวม

                 ข้อมูลที่เกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาเพอเป็นการจำแนกและระบุปัญหาที่ชัดเจน รวมไปถึงการ
                                                            ื่
                                        ี
                 ทบทวนสภาพปัญหาใหม่อกครั้งหลังจากที่นำนโยบายไปปฏิบัติและผลลัพธ์ที่ปรากฏ เพอเป็นการตรวจสอบ
                                                                                          ื่
                                                              68
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86