Page 76 -
P. 76

ื
                                           ิ
                                                                   ิ
                                 ิ
                                                                                ิ
                                               ์
              โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                        สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

                 กับไม้เศรษฐกิจ มีจำนวน 9 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. 2562,
                 พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484,  พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2558, พระราชบัญญัติป่าสงวน
                                                                ื่
                 แห่งชาติ พ.ศ. 2507, พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพอเกษตรกรรม พ.ศ. 2518, พระราชบัญญัติป่าชุมชน
                 พ.ศ. 2562, พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 และ กฎกระทรวงกำหนดให้ทรัพย์สินอนเป็น
                                                                                                      ื่
                 หลักประกนทางธุรกิจ ตามมาตรา 8 (กำหนดให้ไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ)
                          ั


                                                                                                 ้
                 2.3 ความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพทางกฎหมายของที่ดินกับมาตรฐานการรับรองการจัดการป่าไมระดับสากล


                         เนื่องจาก การรับรองป่าไม้ (Forest Certification) เป็นกลไกที่มีที่มาจากความพยายามป้องกันปัญหา
                 ด้านสิ่งแวดล้อมของโลก ทั้ง อากาศ ดิน น้ำ และความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการลดลงของพนที่ป่า
                                                                                                      ื้
                 ดังนั้นข้อกำหนดเกี่ยวกับสถานภาพของที่ดินที่สามารถนำมาขอการรับรองป่าไม้จึงต้องเป็นที่ดินที่ถูกกฎหมาย

                 กล่าวคือ ไม่ใช่ที่ดินที่เกิดจากการบุกรุกป่าของรัฐ หรือมีการครอบครองที่ดินป่าไม้ของรัฐโดยไม่ได้รับอนุญาต
                 ตามกฎหมายซึ่งมาตรฐานการรับรองการจัดการป่าไม้นั้นประกอบด้วย 10 หลักการ (Principles) 70 เกณฑ์ (Criteria)

                 และ 211 ตัวชี้บอก (Indicators) ตามลำดับ ครอบคลุมหลักสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และ

                 ด้านสิ่งแวดล้อม (เวอร์ชั่น 5 Document reference code: FSC-STD-01-001 V5-2 EN, FSC-STD-60-004
                 V2-0 EN) (FSC, 2015, 2018b) โดยมีหลักการแรกที่สำคัญคือ หลักการที่ 1: ความสอดคล้องกับกฎหมาย

                 เกณฑ์ที่ 1.2 บัญญัติเกี่ยวกับสถานภาพทางกฎหมายของที่ดินไว้ว่า องค์กรต้องแสดงให้เห็นว่าสถานะทาง
                 กฎหมายของหน่วยจัดการรวมถึงสิทธิในการครอบครองและการใช้ประโยชน์ และขอบเขตของหน่วยจัดการมีการ

                 กำหนดไว้อย่างชัดเจน (1.2 The Organization shall demonstrate that the legal status of the

                 Management Unit, including tenure and use rights, and its boundaries, are clearly defined.) ซึ่ง
                 จากการรับรองการจัดการป่าไม้ในประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2554-2561 ขวัญชัย และคณะ (2563ก) พบว่า ใน

                 หลักการที่ 1 พบจำนวน Major CARs และ Minor CARs จำนวนมาก นอกจากนี้ ในหลักการที่ 6 เกณฑ์ที่
                 6.10 ยังบัญญัติไว้ว่า FSC จะไม่ให้การรับรองสวนไม้เศรษฐกิจที่อยู่ในที่ดินที่มีการเปลี่ยนพื้นที่ป่าธรรมชาติมา

                 เป็นสวนไม้เศรษฐกิจหลังเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2537 เว้นแต่มีหลักฐานยืนยันอย่างชัดเจนและเพยงพอว่าผู้
                                                                                                   ี
                                                       ื้
                 ขอการรับรองไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนพนที่ป่าดังกล่าวทั้งทางตรงและทางอ้อม หรือ ต้องแสดงหลักฐานที่
                          ี
                 ชัดเจน เพยงพอ และมีความน่าเชื่อถือถึงการคุ้มครองประโยชน์ด้านการอนุรักษ์ในระยะยาวในพนที่ที่ขอการ
                                                                                                 ื้
                                                          ื้
                 รับรองและต้องมีจำนวนไม่เกินร้อยละ 5 ของพนที่ทั้งหมดที่ขอการรับรอง จากบทบัญญัติดังกล่าว พบว่า
                 นโยบายแก้ปัญหากรณีสถานภาพทางกฎหมายของที่ดินในประเทศไทยบางส่วนไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการ
                                                           ้
                 รับรองการจัดการป่าไม้ระดับสากล ซึ่งควรมีการแกไขโดยเร่งด่วน


                         ประเทศไทยมีสถานภาพที่ดินตามกฎหมายที่จำแนกได้หลายประเภท เช่น ที่ดินตามประมวลกฎหมาย
                 ที่ดิน (กรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครอง) เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3, น.ส.3 ก)


                                                              63
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81