Page 84 -
P. 84
ิ
ิ
ื
์
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ขั้นตอนที่ 3 ผลผลิตของนโยบาย ขั้นตอนที่สำคัญคือ การนำนโยบายไปปฏิบัติ เป็นการ
นำเอานโยบายที่ได้กำหนดขึ้นมาแล้วไปดำเนินการโดยหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยเทคนิควิธีที่จะสามารถ
นำมาประยุกต์เพอช่วยในการปฏิบัติตามนโยบายสาธารณะให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น สามารถ
ื่
แบ่งได้ดังนี้
- เทคนิควิธีเกี่ยวกับการบริหาร เช่น การบริหารโดย ยึดวัตถุประสงค์
)
(Management By Objective: MBO Program Evaluation and Review Technique: PERT แ ล ะ
Critical Path Method: CPM เป็นต้น
- เทคนิควิธีเกี่ยวกับพฤติกรรม เช่น การพฒนาองค์การ (Organizational
ั
Development หรือ OD) และการสร้างกลุ่มควบคุมคุณภาพ (Quality Control Circle: QCC) เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 4 ผลลัพธ์ของนโยบาย ขั้นตอนที่สำคัญคือ การประเมินผลนโยบายสาธารณะ
ซึ่งเป็นการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงหลังมีการออกนโยบายและการนำเอานโยบายไปปฏิบัติแล้ว โดยเทคนิค
ื่
วิธีที่จะสามารถถูกนํามาประยุกต์เพอช่วยในการประเมิน ผลนโยบายสาธารณะนี้คือเทคนิคการวิจัย
ประเมินผล (Evaluation research) รูปแบบต่าง ๆ เช่น การวิจัยทดลอง (Experimentation) การวิจัย
กึ่งทดลอง (Quasi–experimentation) และ การวิจัยที่ไม่ใช่การทดลอง (Non–experimentation)
นอกจากนี้ยังมีเทคนิคการประเมินผลในเชิงต้นทุนผลประโยชน์ (Retrospective cost–benefit analysis)
และการประเมินผลในเชิงคุณภาพ (Qualitative evaluation) เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 5 ปัจจัยป้อนกลับของนโยบาย ขั้นตอนที่สำคัญของส่วนนี้คือ การทดแทนหรือ
ื่
การยุตินโยบาย ซึ่งจะอาศัยข้อมูลจากการประเมินผลนโยบาย เทคนิคที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพอยุติ
นโยบาย ได้แก่ การออกแบบโครงสร้างองค์กรใหม่ (Reorganization) และเทคนิคการประมาณงบประมาณ
แบบฐานศูนย์ เป็นต้น
2.4.6 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน
การวิเคราะห์ SWOT เป็นการวิเคราะห์ภาพรวมของสภาพแวดล้อมต่างๆ ทั้งภายในและ
ภายนอกองค์กร เพอวิเคราะห์ถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อผลการดำเนินงานขององค์กร
ื่
ซึ่งมีความสำคัญต่อการประเมินผลงานในการดำเนินงาน การเปรียบเทียบการทำงานในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน
การเปรียบเทียบกับทางเลือกในการดำเนินงาน และการระบุความสำคัญของการเปลี่ยนจุดแข็งและจุดอ่อนเป็น
ข้อได้เปรียบทางเลือกในการดำเนินงานอนนำไปสู่การสร้างกลยุทธ์ในการดำเนินงาน โดยเน้นว่ากลยุทธ์ที่สร้างขึ้น
ั
จะต้องก่อให้เกิดความเหมาะสมระหว่างสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งในการ
วิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านต่างๆ สามารถแบ่งได้ ดังนี้ (นันทิยา และณรงค, 2545)
์
71