Page 31 -
P. 31

ิ
                                             ์
                               ิ
                            ื
                                                                  ิ
                                                                              ิ
            โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                                                       15

                        การดำเนินการตามกระบวนการดังกล่าวจะส่งผลให้ทรัพยากรการท่องเที่ยวมีการพัฒนาสู่การ

               ท่องเที่ยวแบบยั่งยืนได้ ทำให้ชุมชนได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวในระยะยาว โดยไม่ก่อให้เกิด

               ผลกระทบต่อสังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิตเดิมของชุมชน
                        การท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคมและ

               วัฒนธรรม ที่กำหนดทิศทางโดยชุมชน จัดการโดยชุมชนเพื่อชุมชน และชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของ มีสิทธิใน
               การจัดการดูแลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้มาเยือน มีองค์ประกอบหลักของการท่องเที่ยว 4 ด้าน (โครงการ

               ท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ, 2540) คือ

                        1. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ชุมชนมีฐานทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มี
               วิธีการผลิตที่พึ่งพาและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และมีวัฒนธรรมประเพณีเฉพาะถิ่น

                        2. ด้านองค์กรชุมชน ชุมชนมีระบบสังคมที่เข้าใจกัน มีปราชญ์หรือมีความรู้และทักษะในเรื่องต่าง ๆ
               หลากหลาย ชุมชนรู้สึกเป็นเจ้าของและเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา

                        3. ด้านการจัดการ มีกติกาในการจัดการสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว มีองค์กรหรือ

               กลไกในการทำงานเพื่อจัดการการท่องเที่ยว และสามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับการพัฒนาชุมชนโดยรวมได้
               มีการกระจายผลประโยชน์ที่เป็นธรรม มีกองทุนที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน

               ด้านการเรียนรู้

                        4. ด้านการเรียนรู้ ลักษณะของกิจกรรมการท่องเที่ยวสามารถสร้างการรับรู้และความเข้าใจใน
               วิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่าง มีการจัดการให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ระหว่างสมาชิกในชุมชนกับผู้มาเยือน

               เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม
                        หลักการพื้นฐานของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร แบ่งออกเป็น 3 ประการ ดังนี้

                        1. เที่ยวชม เช่น สัตว์เลี้ยง นก แปลงเพาะปลูกพืชผักสวนครัว อุปกรณ์การเกษตรสมัยก่อน โรงนา

                                                                               ่
               แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สถานที่ท่องเที่ยวที่นำเสนอให้แกนักท่องเที่ยว รวมถึง วัฒนธรรม
               ประเพณี การแต่งกาย การละเล่นพื้นเมือง ซึ่งสามารถนำมาแสดงแก่นักท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มความสนใจแก่

               นักท่องเที่ยวในการมาเยี่ยมชมได้
                        2. ท่องเที่ยวโดยมีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เช่น การเก็บผลไม้ตามฤดูกาล การตอนกิ่ง

               พันธุ์ไม้ ขี่ม้า ขี่วัวควาย การประกอบอาหาร การเล่นเกม กิจกรรมพิเศษต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อเพิ่มความ

               สนุกสนานของนักท่องเที่ยว
                        3. เที่ยวหาซื้อของฝาก เป็นการหาซื้อสินค้าที่นำมาจำหน่าย โดยผู้ประกอบการสามารถนำผลผลิต

               ทางการเกษตรมาแปรรูป เพื่อจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวโดยตรง เช่น น้ำดื่มสมุนไพรต่าง ๆ หรือน้ำดื่มเย็น ๆ

               รวมถึงการจำหน่ายอาหารและขนม ผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน สินค้าหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล (OTOP) สินค้าที่ระลึก
               เพื่อให้นักท่องเที่ยวจดจำประสบการณ์การท่องเที่ยว
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36