Page 28 -
P. 28
ื
ิ
ิ
์
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
12
ประเภทของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร (กรมการท่องเที่ยว, 2559) แบ่งได้หลายลักษณะ ดังนี้
1. แบ่งตามลักษณะกิจกรรมการเกษตรหลัก สามารถแบ่งได้ 5 ประเภท ได้แก่ การเพาะปลูก
การเลี้ยงสัตว์ การประมง การเกษตรและป่าไม้ และการเกษตรแบบผสมผสาน
2. แบ่งตามลักษณะเจ้าของกิจการ และการบริหารจัดการ
3. แบ่งตามขนาดของแหล่งท่องเที่ยว กำหนดตามขนาดพื้นที่ของแหล่งท่องเที่ยว แบ่งได้ 3 ประเภท
คือ แหล่งท่องเที่ยว ขนาดใหญ่ (51 ไร่ ขึ้นไป) ขนาดกลาง (21-50ไร่) และขนาดเล็ก (ไม่เกิน 20 ไร่)
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นกิจกรรมนันทนาการในการศึกษาหรือการพักผ่อนหย่อนใจที่ดำเนินการ
ในพื้นที่เกษตรกรรม หรือการดำเนินงานด้านการเกษตรอื่น ๆ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว อีกทั้ง กิจกรรมที่สื่อถึง
การท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางการเกษตร ความบันเทิง และการศึกษาการทำงานใน
พื้นที่การเกษตรด้วยกิจกรรมที่หลากหลายที่รวมอยู่ในการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จึงมีความพยายามหลาย
ประการในการพัฒนาระบบการจำแนกสำหรับสาขาย่อยนี้ เป็นกรอบในการประเมินขอบเขตและบริบทของ
กิจกรรม พัฒนาการจำแนกประเภทเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นการเกษตรและธรรมชาติ เป็นการเชื่อมโยง
ระหว่างผู้เข้าชมและกิจกรรมการเกษตร (Boys, DuBreuil White, and Groover, 2017)
ประเทศไทยมียุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวในการพัฒนาชุมชนชนบท โดยกรมส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมให้ท้องถิ่นที่มีศักยภาพเป็นพื้นที่นําร่องแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
โดยมีนโยบายภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 10 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีนโยบายส่งเสริม
การท่องเที่ยวเชิงเกษตรภายใต้หลักการ และแนวคิด ดังนี้ (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2545)
1. ส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้จากการให้บริการการท่องเที่ยว และการจัดจำหน่ายผลผลิตทางการ
เกษตรต่าง ๆ ให้กับนักท่องเที่ยว เป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนระดับรากหญ้า รายได้จากการท่องเที่ยวเชิง
เกษตรเป็นแหล่งรายได้เสริมที่สำคัญของเกษตรกรในยามที่ผลผลิต จากภาคการเกษตรตกต่ำในบางปี
2. สร้างความภาคภูมิใจและหวงแหนในอาชีพดั้งเดิมของเกษตรกร ให้เกษตรกรและลูกหลานรู้สึก
ความภาคภูมิใจในอาชีพการเกษตรของตนเอง จากเดิมที่อาชีพเกษตรกรรมไม่ได้รับความสนใจจากลูกหลาน
เนื่องจากเป็นอาชีพที่ต้องทำงานหนักและมีรายได้น้อย
3. อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม สืบทอดอาชีพดั้งเดิมของคนไทยไว้ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม
ของประเทศสืบต่อไป
4. เปิดโอกาสให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการท้องถิ่นของตนเอง ให้เกิดความเข้มแข็งใน
ชุมชนและร่วมกันในการบริหารงานภายในท้องถิ่น พัฒนากลุ่มเกษตรกรและทรัพยากร บุคคลในท้องถิ่นให้มี
การเรียนรู้และทำงานร่วมกัน
5. สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างนักท่องเที่ยวกับเกษตรกรในการเรียนรู้และ แลกเปลี่ยน
ความคิดเห็น ทัศนคติและประสบการณ์ต่าง ๆ ระหว่างกัน และลดช่องว่างระหว่างคนเมืองกับคนชนบท
6. ปลูกจิตสำนึกที่ดีให้กับนักท่องเที่ยวให้มีความเข้าอกเข้าใจในอาชีพเกษตรกรรมได้พบเห็น ได้
เข้าใจปัญหา อุปสรรค ตลอดจนความยากลำบากของเกษตรกรในการประกอบอาชีพและการดำรงชีพ