Page 24 -
P. 24

ิ
                            ื
                                             ์
                                          ิ
            โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                              ิ
                                                                  ิ
                                                                                                         8

                                                              ี่
                                                         บทท 2

                                          การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง



                       การศึกษา “นวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในบริบทของความปกติใหม่หลังจากการแพร่ระบาด
               ของ Covid-19” คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาค้นคว้าและทบทวนบทความ เอกสาร ตำราทางวิชาการ ทฤษฎี

               รวมไปถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ประโยชน์ในการกำหนด สมมติฐานงานวิจัย การกำหนด

               ตัวแปร และออกแบบเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัยในบทต่อไป ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้นำเสนอ การทบทวน
               วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ที่มีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Literature

               Review) โดยการศึกษาค้นคว้า รวบรวม ผลงานวิจัยที่ทันสมัยและได้มาตรฐาน ผ่านกระบวนการประเมินค่า

               คุณภาพงานวิจัย และคัดเลือกผลงานวิจัย ที่ได้มาตรฐาน มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากผลงานวิจัย
               อย่างเป็นระบบ น ามาสรุปเป็นองค์ความรู้ที่ทัน สมัยและน่าเชื่อถือ โดยมีรายละเอียดดังนี้

                       2.1 การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
                       2.2 ความต้องการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและเครื่องมือที่ใช้ประเมินค่า (Demand)

                       2.3 แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและเครื่องมือที่ใช้ประเมินค่า (Supply)
                       2.4 การวิเคราะห์การลงทุนในธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในบริบทของความหลากหลาย

                       2.5 แนวคิดนวัตกรรมการท่องเที่ยวในรูปแบบของทางเลือกประกอบธุรกิจ (Options)

                       2.6 แนวคิดเกี่ยวกับบริบทของความปกติใหม่
                       2.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง: การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเป็นแนวทางใหม่ในการจัดการที่ซับซ้อน

               ทางการเกษตร


               2.1 การท่องเที่ยวเชิงเกษตร

                        องค์กรการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (UNWTO) กำหนดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

               (Agri Tourism) เป็นหนึ่งในรูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ (Natural Based Tourism) โดยการ
               ท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agri Tourism) เป็นการเดินทางท่องเที่ยวไปยังพื้นที่เกษตรกรรม สวนเกษตร วนเกษตร

               สวนสมุนไพร ฟาร์มปศุสัตว์ หรือการเลี้ยงสัตว์ เพื่อชื่นชมความสวยงามและความเพลิดเพลินในสวนเกษตร

               ได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่บนพื้นฐานความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อมของ
               สถานที่ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรและมีความงดงามทาง

               ธรรมชาติ สามารถใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบตรงนี้ในการส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวรูปแบบ

               ดังกล่าวได้ (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, 2559)
                       การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agri Tourism) คือ การท่องเที่ยวที่ได้เรียนรู้ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม และ

               ประเพณี รวมถึง รูปแบบกิจกรรม เข้าใจและภาคภูมิใจกับอาชีพเกษตรกรรม ภายใต้แนวคิด ปรัชญา องค์
               ความรู้ ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษเกษตรกรไทย ซึ่งเป็นรากฐานของแผ่นดิน และการประกอบอาชีพทางการ
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29