Page 21 -
P. 21
ิ
ิ
์
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ิ
ื
5
นักท่องเที่ยวจะลดขนาดของกลุ่มท่องเที่ยวลงจากกลุ่มใหญ่เป็นการท่องเที่ยวแบบครอบครัว ซึ่งคาดว่าจะ
ป้องกันการสัมผัสกับผู้อนทำให้อัตราการติดเชื้อของโรคอุบัติใหม่ในอนาคต ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอีกลดลง รัฐบาล
ื่
จึงต้องมีนโยบายที่ชัดเจน ทั้งในระดับเศรษฐกิจ มหภาคและจุลภาค อีกทั้งความสำคัญคืองบประมาณซึ่ง
รัฐบาลไม่ควรปล่อยให้ชุมชน จัดการกันเพียงลำพังแต่รัฐบาลต้องสนับสนุนจนกว่าชุมชนจะจัดการการ
ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ได้อย่างยั่งยืน
แต่อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาต้นแบบการบริหารจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของประเทศ
ไทย ผลการศึกษาพบว่าภาครัฐยังไม่มีนโยบายและแผนงานภาครัฐ ที่ชัดเจนด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร มี
เพียงโครงการส่งเสริมการเกษตรและผลผลิตทางการเกษตรทั่วไป ดังเช่นการสนับสนุนให้ชมชนพึ่งพาตนเอง
ก่อตั้งตลาด รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในชุมชน แต่ยังขาดความต่อเนื่องในเชิงนโยบายของภาครัฐ
การบูรณาการความร่วมมือระหว่าง เกษตรกร ชุมชน ภาคธุรกิจ และวิชาการ และภาครัฐ ที่จะสนับสนุนซึ่งกัน
และกันก่อให้เกิดพลวัตรภายในประเทศไทย ลดการพึ่งพานักเที่ยวชาวต่างชาติ (พัทธ์ยมล สื่อสวัสด์วณิชย์,
2558; สมพร อิศวิลานนท์ และปิยะทัศน์ พาฬอนุรักษ์, 2561)
จากทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วคณะนักวิจัยมีแนวคิดการวิจัยเรื่อง “นวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรใน
บริบทของความปกติใหม่หลังจากการแพร่ระบาดของ Covid-19” นี้เป็นการวิจัยเชิงนโยบายเพื่อเสนอแนะ
แนวทางนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรให้ภาครัฐในเชิงนโยบาย ในการพัฒนาศักยภาพของการท่องเที่ยว
เชิงเกษตรที่ประเทศไทยมีศักยภาพอยู่แล้วเพื่อรับมือกับอนาคตอาจเปลี่ยนวิกฤตครั้งนี้ให้เป็น “โอกาส” และ
ความสำคัญของการสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งจากภายในให้กับเศรษฐกิจไทยในระยะยาวหลังจากการเกิด
วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและเรียกความเชื่อมั่นผู้บริโภคและนักลงทุน
กลับมา ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนแบบคนไทยช่วยเหลือคน
ไทยกันเอง
1.2 วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาความต้องการและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร หลังจาก
การแพร่ระบาดของ Covid-19
2. เพื่อวิเคราะห์และค้นหาองค์ความรู้เชิงวิชาการในการพัฒนาบุคลากรและแหล่งท่องเที่ยวเชิง
เกษตร หลังจากการแพร่ระบาดของ Covid-19
3. เพื่อค้นหาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาภาพรวมของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
4. เพื่อค้นหานวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในบริบทของความปกติใหม่หลังจากการแพร่ระบาด
ของ Covid-19