Page 18 -
P. 18
์
ิ
ิ
ิ
ื
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2
้
นโยบายระดับประเทศที่ป้องกันประชาชนทั้งประเทศให้รอดพนวิกฤตจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ
Covid-19
ในช่วงที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่าประเทศไทย เป็นประเทศที่พึ่งพาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและ
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งเป็นธุรกิจหลักที่มีมูลค่าสูงถึงร้อยละ 12 ของ GDP ในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
และตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) เช่น อุตสาหกรรมการบิน
โรงแรม กิจกรรมอีเว้น (Event) การค้าปลีก ภัตตาคาร การขนส่งทางบก และการขนส่งทางอากาศ อันส่งผล
ต่อเนื่องไปสู่ผลกระทบด้านการค้าและการลงทุนทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ที่อยู่ภายใต้ระบบห่วง
โซ่คุณค่าโลก (Global Value Chain) โดยเป็นอุตสาหกรรมสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย ที่พึงพานักท่องเที่ยว
ชาวต่างประเทศเป็นสำคัญ เมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้รูปแบบของดำเนินชีวิต
ของประชาชนไทยเปลี่ยนแปลงไป ที่เกิดเป็นความปกติใหม่ (New Normal) ซึ่งหมายถึง ฐานวิถีชีวิตใหม่ หรือ
รูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีต เช่น วิถีชีวิตที่ประชาชนจะต้องเสียค่าใช้จ่ายกับการ
ป้องกันการติด Covid-19 หน้ากากอนามัยหรือเจลล้างมือ การกักตัวอยู่กับบ้านจนทำให้ขาดรายได้ ทั้งหมดนี้
ส่งผลเสียทำให้เกิดความเครียดและปัญหาทางสุขภาพจิตตามมา ซึ่งภาคการท่องเที่ยวก็อาจจะต้องปรับตัวจาก
platform เดิมสู่ platform ใหม่ โดยเฉพาะพฤติกรรมการใช้ระบบออนไลน์ (Online platform) โดยมีการ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Preventive and fear effect) ความวิตกกังวลการแพร่ระบาดของโรค ทำให้คน
เลือกที่จะหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องพบปะกับคนหมู่มาก เช่น การท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ การจัด
คอนเสิร์ตและอีเวนต์ การเดินซื้อของในห้าง การทานข้าวนอกบ้าน การดูหนังในโรงภาพยนตร์ การรวมกลุ่มที่มี
ผู้ชุมนุมจำนวนมาก เป็นต้น ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลงมากกว่าที่ควรจะเป็นใหม่ เพื่อรองรับผลกระทบ
ของการแพร่ระบาดของ Covid-19 (ฟอร์บส ไทยแลนด์, 2020)
ผลกระทบต่อแรงงานในภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นแรงงานกลุ่มหลักที่ได้รับ
ผลกระทบจาก การแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่ในปัจจุบันประเทศไทยมีแรงงานรวมจำนวน 38.2 ล้านคน
โดยเป็นคนที่มีงานทำประมาณ 37.6 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นแรงงานในภาคบริการที่เกี่ยวข้องกับการ
ท่องเที่ยวโดยตรงร้อยละ 28 ของการจ้างงานทั้งหมด ได้แก่ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจที่พักอาศัย ธุรกิจการขนส่ง
เดินทาง และนันทนาการ ซึ่งเป็นกลุ่มแรงงานหลักที่มีความเสี่ยงจะได้รับผลกระทบสูงจากรายได้ภาคการ
ท่องเที่ยวที่หายไปในอดีตตัวเลขการว่างงานของไทยจะอยู่ในระดับต่ำมาโดยตลอด จากการที่แรงงานสามารถ
ย้ายกลับไปทำงานในภาคเกษตรเพื่อหารายได้ชดเชยจากการว่างงานได้ แต่ในปัจจุบันประเทศไทยกำลัง
ประสบกับปัญหาภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่ง (ฟอร์บส ไทยแลนด์, 2020)
นอกจากนี้ ยังเป็นที่น่ากังวลว่าภาคเกษตรและภาคการผลิตในประเทศไทย อาจไม่สามารถรองรับ
แรงงานในภาวะเศรษฐกิจซบเซาได้อย่างเช่นในอดีต ซึ่งอาจเห็นจากตัวเลขอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่าง
รวดเร็วแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อีกทั้งยังมีแรงงานนอกระบบเป็นจำนวนมากที่เสี่ยงตกงานและสูญเสียรายได้
โดยเฉพาะผู้ใช้แรงงาน รวมทั้ง การได้เห็นถึงปัญหาจากการไม่กระจายตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจ การ
พึ่งพาบางภาคส่วน และการพึ่งพาภายนอกมากเกินไป ขาดแรงขับเคลื่อนจากภายในที่ทดแทนกันได้เมื่อเกิด
วิกฤตการณ์ (เกษม พรประพันธ์, มณฑลี กปิลกาญจน์, นันทนิตย์ ทองศรี, และพรชนก เทพขาม, 2563)