Page 20 -
P. 20
ิ
์
ิ
ิ
ื
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4
สถานการณ์ปัญหาและอุปสรรคการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของประเทศไทยที่ผ่านมาการท่องเที่ยวของ
ประเทศไทยลักษณะที่เป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรยังขาดจุดขาย และนโยบายที่ชัดเจน รวมถึงไม่เป็นที่รู้จัก
และมีชื่อเสียงระดับสากล ยังพบว่าในการพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตรมีปัญหาในการส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวเชิงเกษตร สามารถแบ่งออกได้ เป็น 4 ประการ มีรายละเอียดดังนี้
1. เกษตรกรหรือสมาชิกในชุมชนให้ความสนใจด้านการท่องเที่ยวไม่มากนักและขาดความรู้ด้านการ
บริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว เกษตรกรมีรายได้หลักจากการทำเกษตรมากเพียงพอ จึงไม่ประสงค์จะ
ดำเนินการท่องเที่ยวเชิงเกษตรซึ่งต้องมีการเตรียมตัวมากและมองว่าเป็นภาระที่ต้องบริการนักท่องเที่ยวที่
เดินทางมาท่องเที่ยว แม้ว่าจะมีการฝึกอบรมด้านการท่องเที่ยวและการแนะนำถึงผลประโยชน์จากการ
ท่องเที่ยวโดยเจ้าหน้าที่ภาครัฐแล้วก็ตาม และอาจประสบปัญหานักท่องเที่ยวขาดความรับผิดชอบมีการทำลาย
ต้นไม้หรือเก็บผลไม้ในจำนวนที่มากเกินไปและสร้างความเสียหายในระยาว ให้กับแหล่งท่องเที่ยวนั้น
2. ปัญหาด้านแรงงานและผู้สืบทอด เนื่องจากปัญหาแรงงานด้านการเกษตรมีแรงงานเข้าสู่
ภาคอุตสาหกรรมทำงานในโรงงาน มีสวัสดิการและความมนคงดีกว่าจึงทำให้แรงงานภาคการเกษตรขาดแคลน
ั่
และลูกหลานเกษตรกรไม่นิยมหรือสืบทอดกิจการต่อ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของสมาชิกในชุมชนก็จะ
หายไป การสืบทอดอาชีพดั้งเดิมของบรรพบุรุษเริ่มลดลง เหล่านี้เป็นค่านิยมของสังคมสมัยใหม่ (สุกันยา
คงเขียว, กนก เลิศพานิช, วรัญญา อรัญวาลัย, และอภิศักดิ์ โพธิ์ปั้น, 2561)
3. มีการโยกย้ายเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ตามตำแหน่งหน้าที่จากต้นสังกัด เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัดเกษตร
จังหวัด เป็นต้น ทำให้มีการปรับเปลี่ยนนโยบาย หรือไม่มีการต่อเนื่องของนโยบายหรือโครงการ ที่ทำอาจเกิด
การชะลอการดำเนินงานหรือยุติโครงการไป (สุกันยา คงเขียว, กนก เลิศพานิช, วรัญญา อรัญวาลัย, และอภิ
ศักดิ์ โพธิ์ปั้น, 2561)
4. งบประมาณดำเนินงานขาดการต่อเนื่อง คืออุปสรรคสำคัญของการทำการท่องเที่ยวเชิงเกษตรทั้ง
ในด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวในกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นของนายทุนคนนอกพนที่เข้ามาอยู่อาศัย การสนับสนุน
ื้
ของงบประมาณภาครัฐซึ่งเมื่อออกนโยบายสนับสนุนแล้ว ปล่อยให้เกษตรกรผู้ดำเนินโครงการดำเนินการ
ท่องเที่ยวเพียงลำพัง ไม่มีการสนับสนุนทั้งในด้านการสร้างค่านิยม การประชาสัมพันธ์ การทำการตลาดของ
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (สุสุกันยา คงเขียว, กนก เลิศพานิช, วรัญญา อรัญวาลัย, และอภิศักดิ์ โพธิ์ปั้น, 2561)
จากการลงพื้นที่สำรวจ (Pre-research) ของคณะวิจัย ในพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อทำการ
สัมภาษณ์นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ และผู้นำชุมชน พบว่านักท่องเที่ยวมีความต้องการที่จะท่องเที่ยวเชิง
เกษตรเนื่องจากเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และหลีกหนีความวุ่นวายในเขตเมือง รวมถึงมีอาหารเป็นอาหาร
์
พื้นบ้าน ที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมที่เป็นเอกลักษณของไทยที่สืบทอดกันมา รสชาติอร่อย และราคา
ไม่แพง แต่อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวเชิงเกษตรในความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวนั้นยังไม่มีการสนับสนุนที่
ชัดเจนจากภาครัฐ ที่จะนำเสนอความมีเอกลักษณ์ ข้อมูลการท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์ การติดต่อสอบถาม
ผู้นำชุมชน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมภายในแหล่งท่องเที่ยว ที่น่าสนใจที่จะสามารถดึงดูด และสร้าง
ความนิยมให้กับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ทั้งนี้หากคาดการณ์ในอนาคตจากการสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวเชิง
เกษตร พบว่า นักท่องเที่ยวคาดการณ์ว่านักท่องเที่ยวต่างชาติจะลดลง และประเทศไทยต้องหันมาพึ่งพา
นักท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น และจากนโยบายการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing)