Page 17 -
P. 17

ื
                                                                  ิ
                                                                              ิ
                                             ์
                                          ิ
                               ิ
            โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                                                         1

                                                              ี่
                                                         บทท 1
                                                         บทนำ



               1.1 ที่มาและความสำคัญ

                        จากกรณีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ Covid-19 ที่ส่งผลกระทบไปทั่ว

               โลก เริ่มต้นจากการมีผู้ติดเชื้อที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนในช่วงเดือนธันวาคม 2562 และแพร่กระจายไปทั่วทุกมุม
               โลก โดยข้อมูล เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 มีผู้ติดเชื้อ Covid-19 จำนวน 4,525,166 คน ต้องเข้า

               รักษาพยาบาล จำนวน 2,518,047 คน ผู้ที่รักษาหายแล้ว 1,703,758 คน และผู้เสียชีวิต จำนวน 303,361 คน

               (Worldometers, 2020) ในกรณีของประเทศไทยข้อมูล เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2563 มีผู้ติดเชื้อ จำนวน
               3,018 คน กำลังรักษาพยาบาล จำนวน 112 คน ผู้ที่รักษาหายแล้ว 2,850 คน และผู้เสียชีวิต จำนวน 56 คน

               และยังไม่มีวัคซีนหรือยารักษาโรคที่สามารถยับยั้งการแพร่ระบาดของ Covid-19 ได้ (กรมควบคุมโรค, 2563)
                        นอกจากผลกระทบที่มีต่อสุขภาพของประชากรทั่วโลกแล้ว ยังมีผลกระทบต่อภาคการเงินตามมา

               ด้วยเช่นกัน ซึ่งส่งผลต่อการผันผวนของดัชนีในตลาดหุ้นทั่วโลก ทำให้เกิดการถดถอยทางเศรษฐกิจ (Global

               Economic Crisis) ซึ่งมีที่มาจากวิกฤตสุขภาพ (Global Health Crisis) เป็นสำคัญ ผลกระทบจะเกิดกับ
               ครอบครัวผู้ที่มีความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ (Vulnerable Families) เป็นหลัก เช่น การตกงาน สูญเสียรายได้

               เป็นต้น ดังนั้น ในการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ Covid-19 นี้ จึงต้อง
               วิเคราะห์ผลกระทบในหลายด้านทั้งในเชิงสังคม ในระยะสั้น และระยะยาว เช่น การที่ประเทศไทยจะสูญเสีย

               ขีดความสามารถในการแข่งขันและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว โดยมีการคาดการณ์ว่า

               ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) จะลดลงมาก (ฟอร์บส ไทยแลนด์, 2020)
                        จากข้อมูลที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีอัตราส่วนของผู้ติดเชื้อในอัตราส่วนที่น้อย

               กว่าหลายประเทศทั่วโลก แต่เพื่อความไม่ประมาท รัฐบาลไทยจำเป็นต้องมีมาตรการปิดประเทศ หรือ Lock

               Down โดยโครงการ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” (กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข, 2563)
               เช่นเดียวประทุกประเทศทั่วโลก จึงส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบด้านอุปทานสินค้าและ

               บริการ (Supply) ในระบบเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้ความต้องการซื้อสินค้า และบริการ (Demand)
               ลดลงจนอาจเรียกได้ว่า เกิดวิกฤตเศรษฐกิจทั้งในประเทศไทยและประเทศทั่วโลก (ฟอร์บส ไทยแลนด์, 2020)

               ทำให้รัฐบาลไทยมีความจำเป็นต้องประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และ

               นโยบายช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
               โดยโครงการคนไทยไม่ทิ้งกัน (สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง, 2563) และโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับ

               ผลกระทบจากการระบาดของ Covid-19 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามมติคณะรัฐมนตรี 28 เม.ย.
               2563 (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.), 2563) แต่ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าโครงการ

               ดังกล่าวเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อพยุงเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทย ซึ่งนโยบายเหล่านี้เป็น
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22