Page 26 -
P. 26
ิ
ิ
์
ิ
ื
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ิ
10
การเดินทางท่องเที่ยวไปยังพื้นที่ชุมชนเกษตรกรรม สวนเกษตร วนเกษตร สวนสมุนไพร ฟาร์มปศุสัตว์
และสัตว์เลี้ยง แหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่าง ๆ สถานที่ราชการ ตลอดจนสถาบันการศึกษาที่มีงานวิจัยและพฒนา
ั
เทคโนโลยีการผลิตการเกษตรที่ทันสมัย เพื่อชื่นชมความสวยงาม ความสำเร็จและความเพลิดเพลินในกิจกรรม
ทางการเกษตรในลักษณะต่าง ๆ ทำให้ได้ความรู้ ได้ประสบการณ์ใหม่ ๆ บนพื้นฐานความรับผิดชอบและมี
จิตสํานึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อมของสถานที่ (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2548) การท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่
มุ่งเน้นทางด้านการเรียนรู้วิถีเกษตรกรรมของชาวชนบท โดยเน้นการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยวในการดำเนิน
กิจกรรมให้เกิดการเรียนรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ก่อให้เกิดรายได้ต่อชุมชนและตัวเกษตรกร การท่องเที่ยวเชิง
เกษตรจะเป็นการอนุรักษ์ควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและผลกระทบต่อ
สภาพแวดล้อมและนอกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วยังมีนักวิชาการอื่น ๆ ที่สนใจเรื่องการท่องเที่ยวเชิง
เกษตร (กรมการท่องเที่ยว, 2562) การท่องเที่ยวเชิงเกษตรว่าเป็นการเดินทางท่องเที่ยวไปยังพื้นที่เกษตรกรรม
สวนเกษตร วนเกษตร สวนสมุนไพร ฟาร์มปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยง เพื่อชื่นชมความสวยงามในสวนเกษตร
ได้ความรู้ ได้ประสบการณ์ใหม่บนพื้นฐานความ รับผิดชอบ มีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อมของสถานที่
แห่งนั้น การเดินทางท่องเที่ยวไปยังพื้นที่เกษตรกรรม สวนเกษตร วนเกษตร สวนสมุนไพร ฟาร์มปศุสัตว์ และ
สัตว์เลี้ยง เพื่อชื่นชมความสวยงาม ความสำเร็จ และเพลิดเพลินในการสวนเกษตร ได้ความรู้ได้ประสบการณ์
ใหม่บนพื้นฐานความรับผิดชอบมีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อมของสถานที่แห่งนั้น (รำไพพรรณ
แก้วสุริยะ, 2544)
ื้
ื่
การท่องเที่ยวเชิงเกษตรเป็นธุรกิจของเกษตรกรที่ดำเนินการในพนที่ของเกษตรกรเอง เพอสร้างความ
เพลิดเพลินและความรู้ให้กับผู้เข้ามาเยี่ยมเยือน โดยผู้เข้ามาเยี่ยมเยือนได้ติดต่อโดยตรงกับทางเกษตรกร
กิจการในลักษณะนี้เป็นกิจการที่ช่วยให้เกิดการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรโดยอ้อม มีกิจกรรมทางการเกษตร
เป็นทรัพยากรหลักและใช้ทรัพยากรเหล่านี้ในการดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยว โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง
รายได้ให้แก่เกษตร และเป็นการสร้างความมีส่วนร่วมให้กับคนในท้องที่ในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างเต็มตัว
ซึ่งถือเป็นการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (นิออน ศรีสมยง, 2552) การเดินทางท่องเที่ยวไปยังพื้นที่เกษตรกรรม
เพื่อชมการเกษตรที่มีทัศนียภาพสวยงามในชนบท ซึ่งเป็นสิ่งดึงดูดความสนใจและสร้างความประทับใจแก่
นักท่องเที่ยวที่ได้พบเห็นเป็นแหล่งให้ความรู้ทางด้านเกษตรวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ในชนบทที่
สร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่นักท่องเที่ยวและสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์
ทางการเกษตร (Jittangwattana and Srikhampha, 2014) การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษรก่อให้เกิด
ประโยชน์โดยตรงต่อการอนุรักษ์และการพัฒนาการเกษตรในลักษณะที่ยั่งยืนด้วยการจัดการให้มีการท่องเที่ยว
ื่
ิ่
ื่
โดยนักท่องเที่ยวไปยังพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตรทั้งสวนผลไม้ แปลงผัก หรือแหล่งเพาะปลูกอน ๆ เพอเพม
มูลค่าผลผลิตทางการเกษตรและสร้างรายได้แก่เกษตรกร การกระจายรายได้สู่ชุมชน (เทิดชาย ช่วยบำรุง,
2553) ได้แก ่
1. ความสำคัญต่อเศรษฐกิจ ได้แก ่
1.1 เกิดรายได้เสริมแก่ประชากรและผู้ประกอบการในชุมชนท้องถิ่น นักท่องเที่ยวเชิงเกษตรมีการ
ใช้จ่ายขณะเดินทางท่องเที่ยว เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่านำเที่ยว และค่าใช้จ่ายสำหรับกิจกรรม