Page 30 -
P. 30

ิ
                                             ์
                               ิ
                            ื
                                                                  ิ
                                                                              ิ
            โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                                                       14

                        6. รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามลักษณะการให้ลู่ทางด้านธุรกิจเกษตร ได้แก่ การทำธุรกิจ

               หรือลงทุนร่วมกับเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิต หรือการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เพื่อการส่งออก หรือ

               จําหน่ายภายในประเทศ การร่วมผลิตและจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมต่าง ๆ
                        องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

                        1. ด้านกิจกรรมและกระบวนการ เป็นการท่องเที่ยวที่มีกระบวนการเรียนรู้โดยมีการให้การศึกษา
               เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศของแหล่งท่องเที่ยวเป็นการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ความ

               ประทับใจ เพื่อสร้างความตระหนักและปลูกจิตสำนึกที่ถูกต้องแก่นักท่องเที่ยวประชาชนท้องถิ่นและ

               ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องจึงเป็นการท่องเที่ยวสิ่งแวดล้อมศึกษา
                        2. ด้านพื้นที่ เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น

               รวมถึงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศของพื้นที่
                        3. ด้านการมีส่วนร่วม เป็นการท่องเที่ยวที่มีการคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาชน

               ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการคิดและวางแผนปฏิบัติตามแผน ได้รับประโยชน์ติดตามตรวจสอบตลอดจนร่วม

               บำรุงรักษาทรัพยากรการท่องเที่ยวอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ในท้องถิ่นทั้งการกระจายได้และการยกระดับ
               คุณภาพชีวิต และการได้รับผลตอบแทนเพื่อกลับมาพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีคณภาพ
                                                                                 ุ
                        4. ด้านการจัดการ เป็นการท่องเที่ยวที่ต้องมีความรับผิดชอบโดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ

               สิ่งแวดล้อมและสังคม มีการจัดการที่ยั่งยืนครอบคลุมไปถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และการป้องกัน
                        นอกจากนี้ การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน เป็นการท่องเที่ยวแบบกลุ่มที่มีการจัดการอย่างดี เพราะ

               สามารถที่จะรักษาไว้ได้ซึ่งทรัพยากรการท่องเที่ยวได้อย่างไม่เสื่อมคลาย ธุรกิจมีการปรับปรุงคุณภาพการ
               ท่องเที่ยวและการดำเนินการให้ได้ผลกำไรอย่างเป็นธรรมและมีนักท่อเที่ยวเข้ามาใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ

               พร้อมทั้งมีผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมที่น้อยที่สุด (Chittangwattana, 2005)

                        หลักการการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนสามารถที่จะแยก/แบ่งออกเป็นทั้งหมด 10 กระบวนการ
               (Keawsuriya, 2016) ดังนี้

                        1. อนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างพอดี
                        2. ลดการบริโภคและใช้ทรัพยากรที่เกินความจำเป็นกับการลดการก่อของเสีย

                        3. รักษาและส่งเสริมความหลากหลายของธรรมชาติสังคมและวัฒนธรรม

                        4. ประสานการพัฒนาการท่องเที่ยว
                        5. ต้องนำการท่องเที่ยวขยายเศรษฐกิจในท้องถิ่น

                        6. การมีส่วนร่วม การสร้างเครือข่ายพัฒนาการท่องเที่ยวกับท้องถิ่น

                        7. ประชุมและปรึกษาหารือกับผู้เกี่ยวข้องที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน
                        8. การพัฒนาบุคลากร

                        9. การจัดเตรียมข้อมูลคู่มือบริการข่าวสารการท่องเที่ยวให้พร้อม

                        10. ประเมินผล ตรวจสอบ และวิจัย
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35