Page 33 -
P. 33

ื
                               ิ
                                                                  ิ
                                                                              ิ
            โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                             ์
                                          ิ
                                                                                                       17

                        5. การจัดการท่องเที่ยวแวะพักชมสวนเกษตรยังทำให้เพื่อนบ้านสามารถขายสินค้า ทั้งจากสวน

               เกษตรและสินค้าจำพวกอาหารเครื่องดื่มได้เพมมากขึ้น
                                                     ิ่
                        ผลเสีย เป็นสิ่งอ่อนไหวและเปราะบางของสถานที่ท่องเที่ยว หากได้รับความกระทบกระเทือน หรือ
               ผลกระทบจากการขาดความระมัดระวังแล้ว ย่อมทำให้เกิดความเสียหาย ต้นไม้ตายจากการติดเชื้อ หรือ สัตว์

               ตัวเล็ก ๆ อาจจะติดเชื้อโรคระบาดและตายลงได้ เรื่องนี้มิใช่การกล่าวโดยไม่มีเหตุผลความเสียหายของสวน
               ผลไม้เกิดจากการรับบริการนักท่องเที่ยวที่ไม่รู้จักการท่องเที่ยวที่ดีนั้น ประการหนึ่งคือ นักท่องเที่ยวไม่รู้จัก

               วิธีการท่องเที่ยวสวนที่ดีนั้นเข้าไปเด็ด หัก เอาผลไม้จากต้น ทำให้กิ่งก้านต้นไม้ฉีก เกิดรอยแผลอาจมีเชื้อราเข้า

               ไปทำให้ลำต้น กิ่ง เน่าตายได้ ประการที่สอง บางคนที่ไม่รู้เรื่องผลออนผลแก่ ไปหักเอามาแล้วทิ้งทำให้เจ้าของ
                                                                      ่
               สวนขายไม่ได้เกิดความเสียหาย ดังนั้น การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agri Tourism) จึงต้องมีการบริหารจัดการที่ดี

               คือ เจ้าของสวน ผู้จัดนำเที่ยวหรือมัคคุเทศก์ และนักท่องเที่ยว บุคคลทั้ง 3 กลุ่มที่เกี่ยวข้องจะต้องรู้วิธีการ
               จัดการอย่างมีระบบ

                        ประโยชน์จากการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

                        1. โอกาสจากการมีรายได้มากขึ้น จากหลากหลายทางที่ไม่ใช่จากผลผลิตทางการเกษตรเท่านั้น แต่
               ผู้ประกอบการยังสามารถมีรายได้เพิ่มจากการแปรรูปสินค้าเกษตร การเก็บค่าเข้าชม การจำหน่ายสินค้าที่

               ระลึก เป็นต้น

                        2. รายได้เพิ่ม แต่ไม่ต้องเพิ่มที่ดินทำกิน โดยการนำทฤษฎีเกษตรผสมผสานมาปรับใช่ในพื้นที่ทำกิน
               ที่ไม่อยู่จำกัดหรือมีขนาดเล็ก ให้มีประสิทธิภาพ มีรายได้เพิ่ม มีผลผลิตที่หลากหลาย

                        3. เมื่อเทียบกับตลาดสินค้าแบบดั้งเดิม การท่องเที่ยวเชิงเกษตรนำเสนอวิธีการใหม่ของการตลาด
               ผลิตภัณฑ์และบริการที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้าการเกษตร ได้แก่ การแปรรูปผลผลิตให้มี

               มูลค่าเพิ่ม

                        4. โอกาสในการสร้างธุรกิจใหม่ ๆ จากทรัพยากรที่เกษตรกรมีอยู่แล้ว
                        5. การสร้างกิจการ สำหรับครอบครัวและลูกหลานในอนาคต เป็นวิธีการหนึ่งในการดึงดูดให้คน

               หนุ่มสาวเดินทางกลับมาประกอบอาชีพในท้องถิ่น
                        6. ธุรกิจสำหรับผู้เกษียณอายุ สามารถดำเนินการได้เอง

                        7. แหล่งเรียนรู้สำหรับทุกคนที่สนใจเรื่องการเพาะปลูก การเกษตร ทั้งตัวเกษตรกรเอง นักศึกษา

               และผู้สนใจทั่วไป ที่อยากศึกษา หาความรู้เพิ่มเติมด้านการเกษตร หรือความรู้การเลือกซื้อสินค้าการเกษตร
               การจัดเก็บ เป็นต้น

                        8. การแสดงวิธีการดูแลและป้องกันทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

               และพื้นที่สีเขียว โดยการจัดทำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อลดปัญหาการขายที่ดิน และปัญหาสิ่งแวดล้อม
               จากโรงงานอุตสาหกรรมที่จะเข้ามาในท้องถิ่น

                        9. แหล่งเรียนรู้เรื่องราววิถีทางทำเกษตรกรรมทั้งสมัยโบราณ และสมัยใหม่ด้วย เป็นแหล่งเรียนรู้

               วัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น การปลูกข้าว เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนา เป็นต้น
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38