Page 38 -
P. 38
ื
ิ
ิ
ิ
ิ
์
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
22
ธุรกิจการท่องเที่ยว อาจมีการนำเข้าอาหารจากนอกพื้นที่ เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวข้องกับความ
ปลอดภัยของอาหารในพื้นที่ รวมถึง การนำผลิตภัณฑ์อื่น เช่น ฟาร์มนำเข้าซื้อปุ๋ยเชิงพาณิชย์แทนที่จะซื้อมูล
สัตว์จากฟาร์มไก่ข้างเคียง เงินจำนวนนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของภูมิภาคและสูญหายไปเป็นผลกระทบ
ทางอ้อม โรงแรมขนาดใหญ่อาจจ้างผู้บริหารระดับสูงจากนอกภูมิภาค ซึ่งเงินเดือนส่วนนี้จะถูกส่งกลับคืนสู่
ธนาคารในภูมิภาคบ้านเกิด ช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากการท่องเที่ยวในภูมิภาค เกษตรกรอาจจ้างแรงงาน
ต่างชาติที่ส่งเงินส่งกลับให้สมาชิกในครอบครัวในประเทศของตน ตัวอย่างดังกล่าวอาจทำให้ระบบเศรษฐกิจ
ท้องถิ่นเกิดการรั่วไหลของเงินตรา
การท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่อยู่ในชนบท ทำให้ชนบทได้รับรายได้จากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและ
ต่างชาติ อีกทั้ง เกิดการไหลเวียนของเงินตราในระบบเศรษฐกิจ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่สำหรับตั๋วเครื่องบิน
แพ็คเกจทัวร์ หรือที่พักในโรงแรม นักท่องเที่ยวที่เดินทางระยะจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับค่าน้ำมัน
เชื้อเพลิง ค่าอาหาร และรายการอื่น ๆ ในท้องถิ่น ส่วนนักท่องเที่ยวที่เดินทางระยะสั้นจะไม่ซื้อที่พัก แต่จะ
รับประทานอาหารท้องถิ่นมากกว่า รวมทั้ง มีการเดินทางมาเที่ยวซ้ำ เนื่องจากระยะทางในการเดินทางน้อย
กว่ามากสามารถเที่ยวได้บ่อยครั้ง (Oh and Schuett, 2010)
การศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจของอตสาหกรรมการท่องเที่ยว เป็นสิ่งสำคัญในการวัดการมีส่วน
ุ
ร่วมในสังคม เพื่อการสร้างงานและสร้างความมงคั่ง รวมถึง ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างอตสาหกรรมการ
ั่
ุ
ท่องเที่ยว เพื่อให้แน่ใจว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจยังคงอยู่ในภูมิภาคและลดอัตราการรั่วไหลของเงินตรา เช่น
การเกษตร ขึ้นอยู่กับปัจจัยบางอย่าง เช่น เมล็ดพืช อาหารสัตว์ น้ำ ปุ๋ย และเครื่องจักร หากอุตสาหกรรม
การเกษตรเผชิญกับความยากลำบากทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมทั้งหมดที่ต้องพึ่งพาการผลิตทางการเกษตร
เพื่อซื้อผลิตภัณฑ์ของตน เช่น เมล็ดพืช อาหารสัตว์ น้ำ ปุ๋ย และเครื่องจักรก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย
นโยบายของรัฐบาลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
การบริหารรัฐกิจเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารทางการเมืองที่ทำให้เป็นสาธารณะแตกต่างจากการ
บริหารงานส่วนตัวหรือธุรกิจ โดยการบริหารรัฐกิจมุ่งเน้นไปที่ธรรมชาติทางการเมือง มีการศึกษากระบวนทัศน์
แบ่งเป็น 2 กระบวนทัศน์ (Paradigm) คือ กระบวนทัศน์ที่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการภายในองค์กร
ภาครัฐ การแยกการเมืองจากการบริหาร การบริหารตามแนววิทยาศาสตร์ การบริหารตามแนวมนุษยสัมพนธ์
ั
และกระบวนทัศน์ใหม่ทางรัฐประศาสนศาสตร์ได้เปลี่ยนมาให้ความสำคัญกับประชาชนผู้ที่จะได้รับผลกระทบ
จากการดำเนินงานของภาครัฐ โดยมีจุดเน้นไปที่ผู้รับบริการภาครัฐที่เป็นข้อเสนอที่เป็นแนวทางการดำเนินงาน
ของบุคคลและกลุ่มบุคคล หรือรัฐบาล เพื่อนำไปสู่เป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อยกคุณภาพในประเทศตาม
กิจกรรมที่สนับสนุนจากรัฐบาล มีขั้นตอนของนโยบาย ดังนี้ (สัญญา เคณาภูมิ และบุรฉัตร จันทร์แดง, 2562)
1. การก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation) ซึ่งอาจเกิดจากข้อเรียกร้องปัญหา การเปลี่ยนแปลง
ปัจจัยแวดล้อมของกลุ่มผลประโยชน์ โดยค้นหาสาเหตุของปัญหา เพื่อกำหนดนโยบายโดยมีลักษณะของปัญหา
สาธารณะที่มีความซับซ้อนขาดความชัดเจน มีความละเอียดอ่อนและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาที่
เปลี่ยนแปลงไป แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้ 1) แบบถังขยะ (Garbage Model) 2) แบบชุมชนนโยบาย
(Policy Communities) 3) ตัวแบบผู้ประกอบการนโยบาย (Policy Entrepreneurs) และ 4) ตัวแบบ