Page 39 -
P. 39

ิ
                                             ์
                                          ิ
                            ื
                                                                              ิ
            โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                               ิ
                                                                                                       23

               หน้าต่างนโยบาย (Policy Window) โดยการนำไปใช้กำหนดนโยบายจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์และโอกาส

               (ยุวเรศ หลุดพา, 2560; สัญญา เคณาภูมิ และบุรฉัตร จันทร์แดง, 2562)

                       2. ขั้นตอนการกำหนดนโยบายสาธารณะ โดยการเข้าสู่วาระเป็นจะกำหนดเป็นนโยบายนั้นอาจไม่ได้
               รับการถูกกำหนดเป็นนโยบายทั้งหมด แต่อาจเกิดการสกัดกั้นจากผู้กำหนดนโยบาย โดยข้าราชการและความ

               ลำเอียงของระบบการเมือง เป็นต้น โดยขั้นการกำหนดนโยบายสาธารณะมีรูปแบบของการกำหนดนโยบาย
               4 รูปแบบดังนี้ 1) ตัวแบบเหตุผล (Rational Model) 2) ตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป (Incremental Model) 3)

               ตัวแบบชนชั้นนำ (Elite Model) และ 4) ตัวแบบกลุ่ม (Group Model) (ยุวเรศ หลุดพา, 2560) การกำหนด

               นโยบายสาธารณะ โดยกระบวนการก่อรูปนโยบายสาธารณะและกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ
               ซึ่งนโยบายสาธรณะต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้ในเชิงทฤษฎี (Idealism) และความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ

               (Practicalism) (สัญญา เคณาภูมิ และบุรฉัตร จันทร์แดง, 2562)
                       3. ขั้นตอนการนำนโยบายไปปฏิบัติ เป็นขั้นตอนที่ข้าราชการประจำต้องถือปฏิบัติ มี 6 รูปแบบ คือ

               1) ตัวแบบที่ยึดหลักตุผล (Rational Model) 2) ตัวแบบทางด้านการจัดการ (Management Model)

               3) ตัวแบบการพัฒนาองค์การ (Organization Development Model) 4) ตัวแบบกระบวนการของระบบ
               ราชการ (Bureaucratic Process Model) 5) ตัวแบบทางการเมือง (Political Model) และ 6) ตัวแบบทั่วไป

               (General Model) (ยุวเรศ หลุดพา, 2560; สัญญา เคณาภูมิ และบุรฉัตร จันทร์แดง, 2562)

                       4. ขั้นตอนการประเมินผลนโยบาย (Policy Evaluation) เป็นการประเมินประสิทธิภาพ และ
               ประสิทธิผลของนโยบายโดยใช้เครื่องมือที่มใช้ในการ เป็นการประเมินถึงผลกระทบเชิงบวกเชิงลบ โดยรูปแบบ

               การประเมินผลนโยบายประกอบด้วย การประเมินแบบกำกับติดตาม (Policy Monitoring) การวัด
               ประสิทธิภาพ (Efficiency Measurement) และการวัดประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) เพื่อให้

               ได้ผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติและนำไปสู่การตัดสินใจที่จะดำเนินต่อไป หยุดนโยบายสาธารณะนั้น (ยุวเรศ

               หลุดพา, 2560; สัญญา เคณาภูมิ และบุรฉัตร จันทร์แดง, 2562)
                       5. ขั้นตอนความต่อเนื่อง การทดแทน สิ้นสุด ปรับปรุง (Policy Maintenances, Successions,

               Terminations) เป็นขั้นตอนของการนำผลที่ได้จากการประเมินมาวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจในความ
               ต่อเนื่อง การทดแทน สิ้นสุด และปรับปรุงของนโยบาย เพื่อความต่อเนื่องของนโยบายหากนโยบายนั้นมี

               ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ปรับปรุงนโยบายหากนโยบายสาธารณะนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

               เท่าที่ควร และสิ้นสุดนโยบายสาธารณะหากโครงการนั้นไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างของประเทศทั้งใน
               ระดับมหภาคและจุลภาค (ยุวเรศ หลุดพา, 2560; สัญญา เคณาภูมิ และบุรฉัตร จันทร์แดง, 2562)

                       การนำนโยบายสาธารณะสู่การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นไทย

                       ปัจจุบันประเทศไทยต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกประเทศ ในยุคที่มี
               ความผันผวนของโลกาภิวัตน์ การจัดการนโยบายสาธารณะส่งผลต่อการบริหารจัดการประเทศ และทำได้ยาก

               ขึ้นเนื่องจากต้องมีส่วนร่วมระหว่างผู้กำหนดนโยบายสาธารณะ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะ ชุมชน

               และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยทุกองคาพยพล้วนเป็นส่วนหนึ่งของกลไกลที่สำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดการ
               พัฒนา ทั้งในเศรฐกิจระดับประเทศ (Macroeconomic) และระดับท้องถิ่น (Microeconomic) โดยเฉพาะ
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44