Page 29 -
P. 29
ิ
์
ิ
ื
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
13
รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในประเทศไทย
กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในเมืองไทยที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมในแหล่งท่องเที่ยวเชิง
เกษตรแต่ละแห่งจะมีกิจกรรมการท่องเที่ยว รูปแบบการจัดการ ตลอดจนเป้าหมายการดำเนินงานที่แตกต่าง
กัน สามารถจำแนกรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้ 6 รูปแบบ (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2544) ได้แก ่
1. รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรลักษณะการแสดงหรือสาธิต ได้แก่
- แปลงสาธิตพันธุ์พืชสวยงาม เช่น กล้วยไม้ ดอกไม้ พืชผักและผลไม้ในท้องถิ่น และจากต่างประเทศ
เป็นต้น
- แปลงรวบรวมพันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ เป็นการรวบรวมพันธุ์พืชจากแหล่งต่าง ๆ เช่น พันธุ์กล้วย พันธุ์
ทุเรียน พันธุ์มะม่วง เป็นต้น
- การแสดงขั้นตอนการปฏิบัติต่าง ๆ ทางด้านการเกษตร เช่น การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว
ผลผลิต การดูแลหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุภัณฑ์ การแปรรูปผลผลิต การเลี้ยงผึ้ง การเลี้ยงไหม เป็นต้น
- การแสดงประเพณีวัฒนธรรมด้านการเกษตรในอดีตที่ผ่านมา เช่น การตกกล้าการไถนา การดำนา
การเก็บเกี่ยวข้าว การเก็บเกี่ยวไม้ผลและการแปรรูปไม้ผล การแสดงงานฝีมือหรืองานหัตถกรรมต่าง ๆ เป็นต้น
- การแสดงอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ และวิถีทางการเกษตรของไทยในอดีต
2. รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรลักษณะให้นักท่องเที่ยวร่วมทำกิจกรรมระยะสั้น ได้แก่
- การเข้าชมสวนเกษตร โดยให้นักท่องเที่ยวเก็บผลผลิตกันเองจากต้นในสวนหรือการซื้อ ผลผลิต
โดยการเลือกเก็บเอง โดยนักท่องเที่ยวจะได้ทั้งความสวยงามและบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ
- การทำกิจกรรมพื้นบ้านระยะสันร่วมกับสมาชิกในชุมชน เช่น กรีดยาง ขี่ควาย นั่งเกวียน
พายเรือเก็บดอกบัว เป็นต้น
3. รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ให้นักท่องเที่ยวพักแรมในหมู่บ้าน หรือที่เรียกว่าโฮมสเตย์ คือ
การที่นักท่องเที่ยวเข้าพักแรมในหมู่บ้านเพื่อศึกษาและสัมผัสกับการใช้ชีวิตของชาวชนบทโดยให้นักท่องเที่ยว
ได้รับการบริการที่อบอุ่น ปลอดภัย สะดวก และสะอาด
4. รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในลักษณะการอบรมให้ความรู้ด้านการเกษตรแผนใหม่ และ
ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาของสมาชิกในชุมชน ได้แก่ การฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการทำการเกษตรสมัยใหม่ เช่น การ
ปลูกพืชและการดูแลรักษาพืช การแปรรูปและการเก็บรักษาผลผลิตทางการเกษตร ฯลฯ ซึ่งอาจจะมี
ประกาศนียบัตรรับรองให้นักท่องเที่ยว เป็นต้น การฝึกปฏิบัติเพื่อเรียนรู้ภูมิปัญญาของสมาชิกในชุมชน เช่น
ื้
ศึกษาแมลงหรือสัตว์ที่เป็นประโยชน์ต่อการเกษตร ชนิดและประโยชน์ของผักพนเมืองที่รับประทานได้ การทำ
ข้าวเม่า การทำขนมจีน การทำน้ำตาลจากมะพร้าว การนวดและอบสมุนไพรและการเผาข้าวหลาม เป็นต้น
์
5. รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในลักษณะการจําหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑเกษตร ได้แก่ สินค้า
และการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรต่าง ๆ ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร สินค้าหัตถกรรมพื้นเมืองของเกษตรกร
่
สินค้าของใช้และของที่ระลึกต่าง ๆ ผักสด ผลไม้สด และดอกไม้สด ต้นพันธุ์พืชและเมล็ดพันธุ์ที่นักทองเที่ยวจะ
ซื้อไปปลูกเอง อาหารที่ผลิตและเตรียมในพื้นที่แบบง่าย ๆ แต่สะอาด เช่น ข้าวโพดต้ม ถั่วต้ม เป็นต้น