Page 27 -
P. 27

ิ
                                             ์
                               ิ
                            ื
                                                                  ิ
                                                                              ิ
            โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                                                       11

               ต่างๆ เป็นต้น ค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นรายได้ที่เป็นผลพลอยได้ให้แก่เกษตรกรในท้องถิ่นและเป็นการกระจายเม็ด

               เงินสู่ชุมชนท้องถิ่น

                        1.2 เกิดการหมุนเวียนรายได้และการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค เมื่อนักท่องเที่ยวที่เดินทาง
               ท่องเที่ยวเข้าไปถึงแหล่งท่องเที่ยวในชนบท การพัฒนาความเจริญก็จะไปถึงภูมิภาคนั้น ๆ ก่อให้เกิดการ

               สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ในท้องถิ่น เช่น ถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำประปา ที่พักร้านอาหาร ร้านค้า สิ่งอำนวยความ
               สะดวก เป็นต้น ที่มีผู้ลงทุนในกิจกรรมเหล่านั้น

                        1.3 เกิดการสร้างงานและสร้างอาชีพเกี่ยวกับการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว เช่น พนักงานต้อนรับ

               มัคคุเทศก์ท้องถิ่น พนักงานบริการในที่พัก ร้านอาหาร เป็นต้น
                        1.4 เกิดผลผลิตและนำเอาทรัพยากรของประเทศ โดยเฉพาะทรัพยากรการเกษตรของท้องถิ่นมาใช้

               ให้เกิดประโยชน์ ในรูปแบบของการผลิตสินค้าและของที่ระลึก
                        2. ความสำคัญต่อสังคม ได้แก  ่

                        2.1 ความเป็นอยู่ของเกษตรกรที่ดีขึ้น เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและประชาชนใน

               ท้องถิ่นจากรายได้ที่เป็นผลพลอยได้จากการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
                        2.2 ความภาคภูมิใจในอาชีพ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของท้องถิ่นเป็นการอนุรักษ์อาชีพเกษตรกรรม

                        2.3 การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกันระหว่างคนต่างถิ่นและคนในท้องถิ่น เป็นการอนุรักษ์

               สังคมวัฒนธรรมทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติของท้องถิ่น
                        2.4 ความภาคภูมิใจความสำนึกและตระหนักในคุณค่าของศิลปะวัฒนธรรมตลอดจนการรักษา

                                                                                                       ื้
               เอกลักษณ์ของงชุมชนก่อให้เกิดความรู้สึกหวงแหนและรักผืนแผ่นดินที่อยู่อาศัยของตน ให้เกิดการอนุรักษ์ฟนฟ ู
               วัฒนธรรมทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อมในชนบท

                        2.5 การขจัดปัญหาความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบท เพื่อช่วยขจัดปัญหาการหลั่งไหลและ

               เคลื่อนย้ายเข้ามาหางานทำหรือเสี่ยงโชคในเมืองของประชาชนในชนบท
                         ในปี พ.ศ. 2540 ประเทศไทยให้ความสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยกรมส่งเสริม

               การเกษตรร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มีโครงการท่องเที่ยวเกษตรต้อนรับปีท่องเที่ยวไทย พ.ศ.
               2541-2542 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการท่องเที่ยวประเภทดังกล่าวเกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดการแก้ปัญหา

               การว่างงานของคนในชนบท อันเนื่องมาจากสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นการกระจายรายได้อีกทาง

               หนึ่ง (วรพล วัฒนเหลืองอรุณ, 2544) การท่องเที่ยวเชิงเกษตรถือได้ว่าเป็นรูปแบบของการท่องเที่ยวที่มี
               นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้ความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรยากาศ วิถีชีวิตแบบชนบทที่

               ใช้ภูมิปัญญาทางการเกษตรที่มีมาอย่างช้านาน ประกอบกับความเหมาะสมทางด้านสภาพภูมิอากาศและ

               สิ่งแวดล้อม ทำให้ประเทศไทยมีความได้เปรียบทางศักยภาพของการท่องเที่ยวประเภทนี้อย่างสูง การ
               ท่องเที่ยวเชิงเกษตรจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยให้เกษตรกรได้รับประโยชน์เพิ่มมากขึ้นจากทรัพยากรที่มีอยู่

               อย่างจำกัด (วรการ สุดาแก้ว, 2555)
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32