Page 91 -
P. 91
ิ
ิ
ิ
ิ
์
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ื
14) ปัจจุบันงบประมาณที่หน่วยงานภาครัฐให้ไป เช่น กรมพัฒนาที่ดินให้ต่อปีประมาณ 9,000 ถึง
10,000 บาท ยังไม่เกิดประสิทธิผลในการใช้งบประมาณเท่าที่ควรเพราะไม่มีการสะท้อนความต้องการจาก
เกษตรกร ดังนั้น ระดับนโยบายประธานศูนย์ในแต่ละจังหวัดจะต้องวางแผนคุยกับแต่ละศูนย์เรียนรู้ว่าต้องการ
อะไรและออกแบบให้มีการใช้งบประมาณที่สอดคล้องกันเพื่อให้เกิดผลงาน
15) การจัดทำศูนย์เรียนรู้ยังไม่เพียงพอยังขาดศูนย์ฝึกอบรมซึ่งเน้นการนำความรู้ไปปฏิบัติจริงตรงส่วนนี้
อาจจะพิจารณาให้ศูนย์เครือข่ายเป็นศูนย์ฝึกอบรมของศูนย์หลักที่ให้ความรู้
16) ศพก. บางแห่ง เกษตรกรต้นแบบไม่มีเวลาในการถ่ายทอดความรู้ ไม่มีแผนหรือแนวทางการ
ดำเนินงานในระยะต่อไปหลังครบกำหนด 5 ปี ทำให้บางส่วนต้องการจะลาออกจากการเป็น ศพก.
17) ศพก. บางแห่ง ยังมีการบูรณาการเชื่อมโยงการดำเนินงานกับศูนย์เครือข่ายได้ไม่มากเท่าที่ควร
18) ศพก. บางแห่งมีพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการจัดกิจกรรม เช่น การอบรม การจัดงานวัน Field day รวมถึง
ทางเข้าพื้นที่คับแคบ ยากต่อการเดินทางเข้าไปเรียนรู้ หรือทางเดินเป็นดินโคลนทำให้ช่วงฤดูฝนการเดินทางเข้า
ศพก. ไม่สะดวก รวมถึง ศพก. บางแห่งขาดไฟฟ้า อินเตอร์เน็ตในอาคารเรียนรู้
19) การสนับสนุนปัจจัยการผลิต/วัสดุอุปกรณ์ในการการพัฒนา ศักยภาพ ศพก. โดยสนับสนุน
งบประมาณให้กับ ศพก. เป็นงบดำเนินงาน กำหนดให้เบิกจ่ายในลักษณะค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ ทำให้การ
พัฒนาศูนย์เรียนรุ้ต้องดำเนินการโดยสร้างจากวัสดุที่ไม่คงทนถาวร ส่งผลให้ฐานเรียนรู้เป็นแบบชั่วคราวเสียหายได ้
ง่าย ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้นานอย่างเต็มที่
20) กรมส่งเสริมการเกษตรได้ส่งเสริมให้ ศพก. และศูนย์เครือข่ายเข้าถึงองค์ความรู้ เทคโนโลยีการเกษตร
และนวัตกรรม รวมถึงสนับสนุนการทำงานวิจัยเชิงพื้นที่ในจุดที่สามารถดำเนินการได้ โดยการเชื่อมโยงศูนย์
เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agri-tech and Innovation หรือ AIC) สถาบันการศึกษา หน่วยงานวิชาการที่
เกี่ยวข้องต่างๆ โดยดำเนินการเป็นจุดนำร่อง และขยายผลสู่เกษตรกรใกล้เคียงต่อไป โดยปัญหาที่พบ คือ เมื่อมีการ
ถ่ายทอดความรู้ หรือการศึกษาดูงานแล้ว เกษตรกรต้องจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ในแปลงตนเอง เนื่องจากภาครัฐ
ไม่มีงบประมาณสนับสนุนการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ
21) ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้
กิจกรรมการอบรมเกษตรกร และการประชุมคณะกรรมการเกิดปัญหาไม่สามารถดำเนินการได้ กรมส่งเสริม
การเกษตรได้ปรับวิธีการดำเนินงานให้ใช้รูปแบบกลุ่มย่อย และการจัดอบรม/ประชุมออนไลน์ เพื่อแก้ไขปัญหา
ดังกล่าว แต่พบว่าเกษตรกรยังไม่ให้การตอบรับเท่าที่ควร สาเหตุนอกจากเกษตรกรให้ความสนใจในเรื่องการแพร่
ระบาดของเชื้อโรคแล้ว ยังมีสาเหตุอื่นอีกได้แก่ สัญญาณอินเตอร์เน็ตไม่เสถียร ความไม่พร้อมของเกษตรกร
รูปแบบสื่อการเรียนที่ใช้อบรมออนไลน์ยังไม่น่าสนใจ เป็นต้น
4.5.2 แปลงใหญ่
ดำเนินงานมาหลายปี ปัจจุบันเริ่มเข้าที่ แต่บางแปลงยังมีปัญหาเพราะผลไม่ได้ตามที่คาดไว้ เช่น
73