Page 94 -
P. 94

ิ
                              ื
                                               ์
                                                                                ิ
                                           ิ
                                                                   ิ
              โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
               Supply ปีหน้า แต่ผู้ประกอบการก็ไม่สามารถพยากรณ์ของปีหน้าได้เพราะยังไม่มีคำสั่งซื้อจากตลาด  ตัวอย่างเช่น

               ประชุมปีที่แล้ว สรุปให้ผลิตข้าวพื้นนิ่ม แต่ในปีนี้ตลาดกลับต้องการข้าวหอมมะลิ อีกทั้งไม่มีพันธสัญญา
                       2) ปัญหาการผลิต แม้จะทำแผนแล้ว แต่เมล็ดพันธ์ไม่สามารถผลิตได้ทันตามแผน เพราะประชุมแผน
               สำหรับปี 65 ต้องประชุมตุลาคม 64 เมล็ดต้องปลูกตั้งแต่ พ.ค. 64 ควรต้องคุย 2 ปีล่วงหน้า การผลิตปี 65/66

               ต้องคุยกันต้นปี 64 เพื่อ พ.ค. 64 ได้ผลิตเมล็ดพันธ์
                       3) ปัญหาความยอมรับและร่วมมือของเกษตรกร แผนการผลิตที่ลงถึงระดับจังหวัด แต่เมื่อกระจายลงถึง

               อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เจอทั้งปัญหาการกระจาย และความร่วมมือของเกษตรกร เพราะมีทั้งการกำนดพื้นที่และ
               พันธ์ที่ปลูก ซึ่งมีความแตกต่างของปัจจัยการผลิต ต้นทุน เกษตรกรคนไหนจะยอมลดพื้นที่ หรือปลูกพันธ์ที่ราคาต่ำ

               กว่า นอกจากนี้มีเรื่องศักยภาพของพื้นที่ และความเหมาะสมของพื้นที่ ควรให้แบ่งสายพันธ์ตามจังหวัดทั้งจังหวัด
               ไปเลย และเพื่อลดปัญหาปลอมปนในโรงสีด้วย

                       4) การได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยาแบบไม่มีเงื่อนไขทำให้เกษตรกรไม่ยอมปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตเพื่อ
               ยกระดับประสิทธิภาพการผลิต และไม่ยอมเปลี่ยนจากการปลูกข้าวเป็นพืชทางเลือกอื่นที่เหมาะสมกับพื้นที่
               มากกว่า


                       4.5.5 Zoning by Agri-Map

                       1) ไม่มีการบูรณาการ โดยหลักในการทำโครงการ เจ้าภาพควรต้องวางภาพใหญ่แล้วกระจายภารกิจให้
               หน่วยงานย่อย ๆ แต่ในทางปฏิบัติตอนนี้ยังไม่มีใครเขียนภาพใหญ่ แต่ละหน่วยงานต่างคนต่างทำ
                       2) ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง คนวางแผนไม่มีหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ บอกได้แค่ว่าแต่ละจังหวัดต้องลด/เพิ่ม

               พื้นที่สินค้าใด แต่เมื่อลงถึงจังหวัด ไม่สามารถลงไปดูหน้างานจริง และในพื้นที่ก็อาจจะไม่ดำเนินการตามแผน
               เกษตรกรไม่ปลูกพืชตามแผน เพราะอาจจะมีการชดเชยจากนโยบายอื่นช่วยด้วย ทำให้ไม่ต้องการลดพื้นที่แม้

               ผลผลิตน้อย แต่ได้ค่าชดเชยอื่นๆ เพราะไม่มีกฎหมายบังคับ และบังคับไม่ได้
                       3) เป็นการพูดเชิงวิชาการมากเกินไป เอาแผนที่ไปให้เกษตรกรดูว่าเหมาะไม่เหมาะ ซึ่งควรสื่อสารโดย

               แสดงเป็นสิ่งที่เกษตรกรเข้าใจ แสดงให้เห็นว่าต้นทุนและกำไรจากการเปลี่ยนไปปลูกพืชที่เหมาะสมจะเป็นอย่างไร
               เกษตรกรได้ประโยชน์อย่างไร เทียบกับการปลูกพืชที่ไม่เหมาะสม

                       4) เกษตรกร ไม่มีความรู้ในการปลูกพืชชนิดที่เหมาะสม ควรมีการสอน บอกแหล่งขายพันธ์ รวมทั้งควร
               เสนอตัวเลือกพืชรองที่เกษตรกรน่าจะปลูกได  ้
                       5) ปัจจุบันการทำโครงการนี้เกิดขึ้นได้ค่อนข้างยากในหลายพื้นที่ เช่นภาคกลางเกิดน้อยมากเพราะที่ดิน

               ส่วนใหญ่เป็นนาเช่า ส่วนภาคเหนือและภาคใต้พื้นที่ถือครองของเกษตรกรมีค่อนข้างน้อยประมาณ 3-5 ไร่ ทำให้
               การทำเกษตรผสมผสานค่อนข้างยากเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกพืชเชิงเดี่ยว ปัจจุบันโครงการส่วนใหญ่พื้นที่จะ

               เกิดขึ้นในภาคอีสานเนื่องจากมีพื้นที่เฉลี่ยต่อครัวเรือนมากที่สุดแต่ปัญหาสำคัญของภาคอีสานคือดินทรายเป็นดินที่
               เก็บน้ำยาก

                       6) เมื่อมีการปลูกแบบผสมผสานแล้วควรจะต้องมีการส่งเสริมการรวมกลุ่มควบคู่กันไปด้วยเพอเพิ่มอำนาจ
                                                                                                  ื่
               การต่อรองให้กับเกษตรกร

                                                             76
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99