Page 96 -
P. 96
ิ
ื
ิ
ิ
์
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2) อุปสรรคในขั้นตอนการรับรอง พอตลาดไม่บังคับ เกษตรกรไม่ดิ้นรน และสินค้าบางตัวตลาดไม่ได้บังคับ
ราคาก็ไม่ต่างจากสินค้าที่ไม่รับรอง ต่างจากอินทรีย์ที่ตลาดบังคับ เกษตรกรก็จะดิ้นรน โดยเฉพาะที่ส่งออก แต่ที่
ขายในประเทศก็ยังไม่มีราคแตกต่างมากนัก เว้นที่ส่งห้าง Modern trade
3) รัฐมีเงินช่วยเกษตรกรทำ GAP บ้างแต่ไม่มาก ยังจูงใจไม่พอ ในเกษตรกอินทรีย์มีเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ
4) ปัญหาที่สำคัญคือปัญหาการรับรองมาตรฐานสินค้า เนื่องจากขั้นตอนการขอมาตรฐานค่อนข้างยาก
หน่วยงานภาครัฐควรจะต้องมีการส่งเสริมให้ความรู้กับเกษตรกรว่าจะต้องมีการเตรียมตัวอย่างไรบ้างในการขอ
มาตรฐานสินค้าเกษตรเหล่านี้ ควรใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยในการติดตามและจัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตรเพื่อลด
ข้อจำกัดของบุคลากรที่มีไม่มาก หากเป็นไปได้ควรยกระดับให้การผลิตสินค้าเกษตรทุกประเภทในประเทศไทยมี
การทำ GAP
5) เจ้าหน้าที่มีภารกิจมากทำให้ตรวจประเมินแปลงไม่ทันตามกำหนดเวลา และบางส่วนขาดประสบการณ์
ความรู้และความเข้าใจด้าน GAP ในเชิงลึก มีปัญหาในการติดตามแนะนำ ให้คำปรึกษาและตรวจประเมินแปลง
เบื้องต้น
6) ระบบโปรแกรมฐานข้อมูลยังไม่สมบูรณ์ ทำให้ยังไม่สามารถตรวจสอบความก้าวหน้า ผลการดำเนินงาน
จากระบบได ้
7) ตลาดจำหน่ายผลผลิตที่มีใบรับรอง (Q) ยังมีน้อย ราคาผลผลิตไม่แตกต่างจากพืชทั่วไปทำให้ขาด
แรงจูงใจด้านราคาผลผลิตสินค้า
8) เกษตรกรส่วนใหญ่ยังมีความเคยชินกับการทำการเกษตรแบบเดิม คิดว่าการทำ GAP มีความยุ่งยาก
และไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดการผลิตพืชครบ 8 ข้อ เช่น การบันทึกข้อมูล พื้นที่ปลูก ขาดกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
ฯลฯ
4.5.8 โครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่
1) งบประมาณไม่เพียงพอ
2) ความต่อเนื่องการบูรณาการน้อยลง ต่างคนต่างไม่มีงบ การบูรณาการลดตามงบประมาณ
3) การคัดเลือกเกษตรกร เกษตรกรที่มาร่วมมีปัญหามาก เมื่อไม่เห็นผลชัดเจน ทำไปอยากเลิกอยากออก
และหาคนมาร่วมได้ยาก ในทางปฏิบัติก็จะแบ่งพื้นที่ส่วนที่เข้าร่วมกับไม่เข้าร่วม ส่วนที่เห็นผลก็ดำเนินการต่อ ส่วน
ไม่เห็นผลก็ไม่ดำเนินการ นอกจากนี้การรวมกลุ่มค่อนข้างน้อย เกษตรกรต่างคนต่างทำ ไม่เห็นผลภาพรวม เมื่อเจอ
ปัญหาปัจจัยการผลิต การขาดแคลนน้ำ ก็ไม่อยากทำแล้ว
4) นโยบายเน้นจำนวนเกษตรกรมากเกิน ไม่เน้นคุณภาพ ดังนั้น เกษตรกรเหมือนถูกบังคับมา
5) ปัญหาและอุปสรรคที่พบจากการบูรณาการของคณะทำงานที่ร่วมบูรณาการในพื้นที่/จังหวัด ได้แก่
เวลาการทำงานของแต่ละหน่วยงานที่ไม่ตรงกัน เช่น บางหน่วยงานมีภาระกิจงานมาก ทำให้ไม่สามารถร่วม
ขับเคลื่อนในกิจกรรมหรือบูรณาการในกิจกรรมนั้นๆ ได้ เป็นต้น และในส่วนของโครงการ 5 ประสานฯ ที่มีการรับ
สมัครเกษตรกรเป็นจำนวน คือ ปีละ 70,000 ราย โดยเกษตรกรไม่ซ้ำรายกัน และมอบหมายให้แต่ละหน่วยงาน
แบ่งเป้าหมาย เพื่อหาเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ ทำให้หน่วยงานในพื้นที่เกิดการแย่งเกษตรกรกัน เพื่อให้ได้ครบ
78