Page 101 -
P. 101

ื
                                 ิ
                                           ิ
                                               ์
                                                                   ิ
                                                                                ิ
              โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
               ของครัวเรือนเกษตรเท่ากับ -0.38 ขณะที่นโยบายธนาคารสินค้าเกษตรกลับทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินรวม

               ของครัวเรือนเกษตรเพิ่มขึ้น 0.18 ส่วนนโยบายอื่นๆ ที่เหลือ ไม่พบว่าทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินรวมของ
               ครัวเรือนเกษตรเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
                       การศึกษาได้ทำการประเมินมูลค่าผลประโยชน์ของนโบายทั้ง 8 นโยบายที่ครัวเรือนเกษตรได้รับประโยชน  ์

               โดยนำรายได้สุทธิคูณกับจำนวนครัวเรือนเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากนโยบาย ภายใต้ข้อสมมติว่าครัวเรือนเกษตร
               มีจำนวนเท่ากับ 8.06 ล้านครัวเรือน ซึ่งเป็นข้อมูลที่รายงานจากฐานข้อมูล Farmer One ของกระทรวงเกษตรและ

               สหกรณ์ ผลการศึกษาพบว่า นโยบายการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งมี 26.23% ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมดเข้าถึง
               นโยบาย เป็นเพียงนโยบายเดียวที่สร้างผลประโยชน์เชิงบวกจากทั้ง 8 นโยบายที่ได้ทำการศึกษา โดยสามารถสร้าง

               มูลค่าผลประโยชน์เท่ากับ 378,221 ล้านบาท/ปี ซึ่งนับว่าคุ้มค่าเมื่อเทียบกับงบประมาณแผ่นดินที่ใช้จ่ายในแต่ละปี
               เฉลี่ย 60,742 ล้านบาท/ปี ขณะที่พบว่า 7 นโยบายที่เหลือยังไม่คุ้มค่ากับการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน โดยมี 3

               นโยบายที่กลับสร้างผลกระทบในเชิงลบ ได้แก่ นโยบายแผนการผลิตข้าวครบวงจร นโยบาย Zoning by Agri-
               Map และนโยบายธนาคารสินค้าเกษตร โดยนโยบายแผนการผลิตข้าวครบวงจร ซึ่งมีครัวเรือนเกษตรที่ได้รับ
               ประโยชน์จากนโยบายนี้จำนวน 3.497827 ล้านครัวเรือน ทำให้มูลค่าผลประโยชน์ติดลบ 150,959 ล้านบาท/ปี

               ส่วนนโยบาย Zoning by Agri-Map ที่มีครัวเรือนเกษตรเข้าร่วมประมาณ 1.80% ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด ทำ
               ให้มูลค่าผลประโยชน์ติดลบ 4,785 ล้านบาท/ปี และนโยบายธนาคารสินค้าเกษตรที่มีครัวเรือนเกษตรเข้าร่วม

               ประมาณ 4.129% ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด ทำให้มูลค่าผลประโยชน์ติดลบ 41,790 ล้านบาท/ปี
                       เมื่อนำมูลค่าผลประโยชน์ทั้งเชิงบวกและเชิงลบของทั้ง 8 นโยบายข้างต้นมารวมกัน ผลการศึกษาพบว่า
               ทั้ง 8 นโยบายเกษตรที่ศึกษา สร้างมูลค่าผลประโยชน์รวมเท่ากับ 180,686.25 ล้านบาท  / และเมื่อนำมาหักลบ
                                                                                         ปี
               กับต้นทุนงบประมาณที่ใช้จ่ายตลอด 3 ปี ของทั้ง 8 นโยบาย ซึ่งเฉลี่ยประมาณ 73,779 ล้านบาท/ปี ทำให้สามารถ
               สรุปได้ว่า ทั้ง 8 นโยบายที่ศึกษาสามารถสร้างมูลค่าผลประโยชน์สุทธิเชิงบวกรวม +106,908 ล้านบาท/ปี สะท้อน

               ให้เห็นว่าโดยภาพรวมการใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่า อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเป็นรายนโยบายจะพบว่ามี
               เพียงนโยบายการบริหารจัดการน้ำเท่านั้นที่มีความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจกับงบประมาณที่ใช้จ่าย ขณะที่นโยบายที่

               เหลือพบว่ายังไม่มีความคุ้มค่ากับงบประมาณที่ใช้จ่าย และควรพิจารณาหาแนวทางปรับปรุงให้มีความคุ้มค่ามาก
               ขึ้น นอกจากนั้น นโยบายเกษตรทั้ง 8 นโยบายพบว่ายังช่วยลดภาระหนี้สินของครัวเรือนเกษตรได้น้อยมาก ซึ่งควร

               ปรับปรุงการดำเนินงานให้นโยบายสามารถช่วยลดภาระหนี้สินของครัวเรือนเกษตรได้เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพ
               ชีวิตที่ดีให้กับเกษตรกร


                   5.2 ข้อเสนอแนะโดยภาพรวม
                       การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะโดยภาพรวมที่สำคัญจากการศึกษาดังนี้
                       1.  ควรพิจารณาปรับเปลี่ยนนโยบายการให้เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่าผ่านนโยบายต่างๆ ไปสู่การให้เงิน

                          ช่วยเหลือแบบมีเงื่อนไข (Conditional Transfer) เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรมีการปรับเปลี่ยน
                          เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับเกษตรกร และยังสามารถประหยัด

                          งบประมาณเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในอนาคตได้อีกด้วย งานวิจัยในอดีต (Attavanich et al., 2019)

                                                             83
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106