Page 106 -
P. 106
ิ
์
ิ
ื
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ิ
การผลิตข้าวเนื่องจากนโยบายของภาครัฐที่เน้นให้การช่วยเหลือแบบให้เปล่า ทำให้ฉุดรั้งการยกระดับ
ประสิทธิภาพของการผลิตข้าว
• ควรเร่งพัฒนาวิธีการพยากรณ์อุปสงค์ของข้าวที่แม่นยำ เนื่องจากปัจจุบันมีการพยากรณ์เพียงด้าน
อุปทานของการผลิตข้าวโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้ดำเนินการ ขณะที่ข้อมูลอุปสงค์ของข้าว
ได้มาจากการดำเนินงานของกระทรวงพาณิชย์ที่ได้สอบถามความต้องการของผู้ประกอบการซึ่งไม่
สอดคล้องกับความต้องการจริงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น กล่าวคือ โดยปกติข้อมูลการสำรวจความต้องการข้าว
มักจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม ขณะที่แผนการผลิตข้าวจะเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคมของปีถัดไป ซึ่ง
เป็นการนำความต้องการข้าวในปีปัจจุบันไปกำหนดอุปทานในปีหน้า ซึ่งความต้องการข้าวในปีปัจจุบัน
อาจไม่เท่ากับความต้องการข้าวในปีหน้า
• แม้จะมีแผนการผลิตข้าวที่ครบวงจร แต่หนึ่งในปัญหาสำคัญคือเมล็ดพันธุ์ที่ไม่สามารถผลิตได้ทันกับ
ความต้องการตามแผนที่กำหนดไว้ เนื่องจากการผลิตเมล็ดพันธุ์ต้องใช้เวลา ขณะที่ช่วงเวลาที่ประชุม
แผนการผลิตข้าวครบวงจรกับช่วงเวลาเพาะปลูกจริงในปีถัดไปห่างกันไม่มาก ดังนั้น การจัดทำแผนการ
ผลิตข้าวครบวงจร อาจจะต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่ต้องการใช้การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วย
• อีกหนึ่งปัญหาที่เผชิญจากนโยบายนี้คือปัญหาความยอมรับของเกษตรกร โดยปกติแผนการผลิตข้าวจาก
ส่วนกลางจะต้องกระจายลงสู่ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ตามลำดับ เพื่อให้ผลผลิตข้าว
สอดคล้องกับแผนการผลิตที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม การกระจายแผนการผลิตข้าวมักได้รับความ
ร่วมมือจากเกษตรกรน้อย เพราะจะต้องมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่และพันธุ์ข้าวที่ปลูกซึ่งมีต้นทุนการผลิต
และราคาที่แตกต่างกัน เป็นการยากที่จะให้เกษตรกรเปลี่ยนไปปลูกพันธุ์ข้าวที่ให้ผลตอบแทนต่ำ ดังนั้น
ควรมีการพิจารณาจ่ายค่าชดเชยให้เหมาะสมกับเกษตรกรผู้เสียประโยชน์จากการที่ต้องหันไปปลูกพันธุ์
ข้าวที่ให้ผลตอบแทนต่ำ
• ควรส่งเสริมให้การค้าข้าวมีการแข่งขันที่สมบูรณ์มากขึ้นเพื่อลดอำนาจการผูกขาดในตลาดข้าวของผู้รับ
ซื้อ Attavanich et al. (2019) พบว่า การเคลื่อนไหวของราคาข้าวที่เกษตรกรได้รับหน้าฟาร์มในแต่ละ
พื้นที่มีความหนืดและเคลื่อนไหวค่อนข้างช้าไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงราคาส่งออกข้าวใน
ตลาดโลก สะท้อนให้เห็นว่ามีอำนาจในการผูกขาดการซื้อข้าวในพื้นที่ในระดับหนึ่ง โดยแต่ละพื้นที่มี
่
อำนาจในการผูกขาดที่แตกต่างกัน ภาคกลางผู้รับซื้อข้าวจะมีอำนาจในการผูกขาดน้อยกว่าภูมิภาคอืนๆ
ตราบใดที่อำนาจการผูกขาดยังคงอยู่ การยกระดับประสิทธิภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรก็ไม่สามารถ
ที่จะช่วยยกระดับสถานะทางเศรษฐกิจของเกษตรกรไทยได้
5.3.5 ข้อเสนอแนะสำหรับนโยบาย Zoning by Agri-Map
• ปัจจุบันนโยบายนี้เกิดขึ้นได้ค่อนข้างยากในหลายพื้นที่ เช่น ภาคกลางมีเกษตรกรที่เข้าร่วมน้อยมาก
เพราะที่ดินส่วนใหญ่เป็นนาเช่า ส่วนภาคเหนือและภาคใต้พื้นที่ถือครองของเกษตรกรมีค่อนข้างน้อย ทำ
ให้การทำเกษตรแบบผสมผสานค่อนข้างยาก โดยเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกพืชเชิงเดี่ยว ปัจจุบัน
โครงการส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคอีสานเนื่องจากมีพื้นที่เฉลี่ยต่อครัวเรือนมากที่สุดแต่ปัญหาสำคัญ
88