Page 107 -
P. 107

ิ
                                               ์
                                           ิ
                                 ิ
                                                                                ิ
              โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                              ื
                        ของภาคอีสานคือดินทรายเป็นดินที่เก็บน้ำยาก ดังนั้น ควรหาวิธีการสร้างแรงจูงใจและสนับสนุนทาง

                        การเงินที่เพียงพอสำหรับเกษตรกรในพื้นที่ที่มีศักยภาพเพื่อดึงดูดการตัดสินใจปลูกพืชอื่นที่มีความ
                        เหมาะสมกับพื้นที่ทั้งในมิติของความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำแทนการปลูกพืชเดิมที่เหมาะสมน้อย
                        หรือไม่เหมาะสมกับของความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ

                       • ควรหาแนวทางจูงใจให้เกษตรกรในพื้นที่เดียวกันปลูกพืชชนิดเดียวกันเพื่อรับประโยชน์จากการ
                        ประหยัดต่อขนาด พร้อมส่งเสริมการรวมกลุ่มควบคู่กันไปด้วยเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองให้กับเกษตรกร

                        และช่วยหาตลาดรองรับผลผลิตจากพืชชนิดใหม่ที่ทำการปลูกด้วย
                       • รัฐบาลควรให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชใหม่แทนพืชเดิมกับเกษตรกร บอกแหล่งขายพันธุ์ รวมทั้งเสนอ

                        ตัวเลือกพืชรองที่เกษตรกรน่าจะปลูกได้ พร้อมจัดหาพี่เลี้ยงคอยให้คำปรึกษาและช่วยเหลือเกษตรกร
                        ตั้งแต่เริ่มปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว ซึ่งอาจพิจารณาให้สถาบันการศึกษาในพื้นที่ช่วยในเรื่องนี้เพื่อลด

                        ข้อจำกัดด้านบุคลากรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นอกจากนั้น อาจพิจารณาหลักประกันแบบมี
                        เงื่อนไขให้กับเกษตรกรหากผลผลิตที่ได้รับไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับเกษตรกรใน
                        การปลูกพืชใหม่แทนพืชเดิม

                       • อีกหนึ่งปัญหาที่พบคือการรายงานพื้นที่เหมาะสมน้อย (S3) หรือไม่เหมาะสม (N) จากแผนที่ ไม่ตรงกับ

                        ข้อมูลจริงในพื้นที่ กล่าวถึงพบปัญหา ดังนั้น ควรพิจารณาปรับปรุงข้อมูลในแผนที่ให้มีความเป็นปัจจุบัน
                        พร้อมกับทำการลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อตรวจสอบความแม่นยำของแผนที่ที่จัดทำขึ้น
                       • การดำเนินงานที่ผ่านมา แต่ละหน่วยงานยังแยกกันทำเฉพาะในส่วนของพื้นที่เป้าหมายที่แต่ละ

                        หน่วยงานรับผิดชอบ โดยไม่ได้มีการบูรณาการร่วมกัน ดังนั้น ควรทบทวนแนวทางใหม่โดยให้แต่ละ
                        หน่วยงานลงไปดำเนินการในพื้นที่เป้าหมายเดียวกันตามภารกิจของแต่ละหน่วยงาน โดยหน่วยราชการ

                        ที่เป็นเจ้าภาพหลักต้องกำหนดภาพใหญ่แล้วกระจายภารกิจให้หน่วยงานร่วมบูรณาการไปปฏิบัติต่อ
                        โดยอาจพิจารณาใช้ Joint KPI เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการขับเคลื่อนนโยบายร่วมกัน

                       • นโยบายที่ใช้ในปัจจุบันอาจไม่สามารถส่งผลให้เกิดการปฏิบัติจริงในพื้นที่ได้มากเท่าที่ควร เนื่องจาก
                        หน่วยงานที่วางแผนไม่มีหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ บอกได้เพียงว่าแต่ละจังหวัดต้องลด/เพิ่มพื้นที่สินค้าใด ไม่

                        สามารถลงไปดูหน้างานจริงได้ และในพื้นที่ก็อาจจะไม่ดำเนินการตามแผน เนื่องจากเกษตรกรมักได้รับ
                        การชดเชยจากนโยบายอื่นๆ ช่วยด้วย ทำให้ไม่ต้องการลดพื้นที่แม้จะได้ผลผลิตน้อย ดังนั้น ควร

                        พิจารณากำหนดขอบเขตของการได้รับเงินช่วยเหลือจากนโยบายอื่นๆ ให้ชัดเจนสำหรับเกษตรกร และ
                        หาแนวทางเพื่อให้หน่วยงานที่มีหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ร่วมดำเนินการในนโยบายนี้

                       • ควรเพิ่มรูปแบบการสื่อสารถึงผลประโยชน์ของนโยบายนี้ให้เกษตรกรสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น
                        แสดงให้เห็นว่าต้นทุนและรายได้สุทธิจากการเปลี่ยนไปปลูกพืชที่เหมาะสมจะเป็นอย่างไร เกษตรกรจะ
                        ได้ประโยชน์อย่างไร เทียบกับการปลูกพืชที่ไม่เหมาะสม หรือจัดทำการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกษตรกรที่

                        เข้าร่วมนโยบายนี้แล้วประสบความสำเร็จ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ การให้
                        เกษตรกรดูเพียงแผนที่ว่าพื้นที่ของตนเหมาะสมกับการเพาะปลูกหรือไม่อาจไม่เพียงพอ



                                                             89
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112