Page 109 -
P. 109
ิ
์
ื
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ิ
โครงการน้อย ดังนั้น ควรพิจารณาเพิ่มเงินช่วยเหลือแบบมีเงื่อนไขกับเกษตรกรเพื่อดึงดูดให้เกษตรกร
หันมาทำการผลิตแบบ GAP มากขึ้น ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหากลไกตลาดล้มเหลวในเชิงเศรษฐศาสตร์
เนื่องจากนโยบายนี้ช่วยสร้างผลประโยชน์ให้สังคมโดยรวมได้เพิ่มเติมจากผลประโยชน์เพียงเศรษฐกิจ
เพราะการผลิตแบบ GAP จะช่วยทำให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคปลอดภัยจากการบริโภคสินค้าเกษตรที่ผลิต
ขึ้นอีกด้วย อนาคตความต้องการอาหารปลอดภัยจะเพิ่มขึ้น การเร่งส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัย
จะช่วยทำให้สินค้าเกษตรไทยเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย
• กรณีของนโยบายส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ พบปัญหาเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเรื่อง
เกษตรอินทรีย์ในเชิงลึกและขาดประสบการณ์ในการติดตามแนะนำให้คำปรึกษา และการตรวจประเมิน
แปลงเบื้องต้น ทำให้การถ่ายทอดความรู้ยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกษตรกรให้เกิดการยอมรับ
ได้ ดังนั้น ควรพิจารณาจัดอบรมให้ความรู้เจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง สร้างนักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพ
ด้านเกษตรอินทรีย์ จัดทีมทำงานโคชชิ่ง เจ้าหน้าที่ใหม่ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) ระหว่าง
เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานระดับจังหวัด
• การสัมภาษณ์เชิงลึกทำให้ทราบว่า ระบบโปรแกรมฐานข้อมูลเกษตรอินทรีย์ยังไม่สมบูรณ์ ทำให้ยังไม่
สามารถตรวจสอบความก้าวหน้า ผลการดำเนินงานจากระบบได้ ดังนั้น ควรพิจารณาปรับปรุงโปรแกรม
พื้นฐานข้อมูลเกษตรอินทรีย์ของแต่ละหน่วยงานให้เป็นระบบเดียวกันและสามารถเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อ
ความสะดวกของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่
5.3.8 ข้อเสนอแนะสำหรับนโยบายส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่
• ควรกำหนดรูปแบบให้ยืดหยุ่นในการส่งเสริมเกษตรและการใช้พื้นที่ในแปลง
• ควรเพิ่มการบูรณาการระหว่างหน่วยงานให้มากขึ้น โดยควรจัดประชุมและชี้แจงทำความเข้าใจให้กับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนโครงการอย่างแท้จริง และเน้นการบูรณาการเพื่อให้
โครงการสามารถดำเนินได้ในทางปฏิบัติและจัดทำคู่มือพร้อมแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจนสำหรับทุก
หน่วยงาน
• ควรเน้นคุณภาพของเกษตรกรที่เข้าร่วมและศักยภาพของพื้นที่ และลดการพิจารณาเป้าหมาย
ความสำเร็จของนโยบายคือจำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วม ที่ผ่านมาการใช้เป้าหมายคือจำนวนเกษตรกรที่
เข้าร่วมได้ก่อให้เกิดการแย่งเกษตรกรกันระหว่างหน่วยงานเพื่อให้ได้ครบตามเป้าหมายที่ตนเอง
รับผิดชอบ นอกจากนั้น ควรพิจารณาส่งเสริมเกษตรกรรายเดิมอย่างต่อเนื่องจนเห็นผลเป็นรูปธรรม
พร้อมระบบการติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพและเงื่อนไขการได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ
• จากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่านโยบายนี้มีปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่สามารถซื้อได้ครั้งละน้อยๆ แต่
ต้องซื้อครั้งละมากๆ ซึ่งในบางครั้งแล้วเกษตรกรไม่มีความจำเป็นต้องซื้อในปริมาณที่มาก ดังนั้น ควร
กำหนดปริมาณการซื้อแต่ละครั้งให้สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร
91