Page 110 -
P. 110

ิ
                                 ิ
                                           ิ
                                               ์
                                                                                ิ
              โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                              ื
                       • ปัจจุบัน การส่งมอบปัจจัยการผลิตให้กับเกษตรกรจากหน่วยงานภาครัฐไม่ได้บูรณาการการจัดซื้อปัจจัย

                        การผลิตในช่วงเวลาเดียวกันทำให้เกษตรกรต้องมารับปัจจัยการผลิตหลายครั้ง ดังนั้น ควรมีการบูรณา
                        การการจัดซื้อปัจจัยการผลิตของหน่วยงานภาครัฐให้อยู่ในช่วงเวลาเดียวกันเพื่อลดจำนวนการมารับ
                        ปัจจัยการผลิตของเกษตรกรซึ่งอาจทำให้เสียโอกาสในการทำงานและมีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

                       •  ผู้รับผิดชอบหลักของโครงการฯ ในระดับส่วนกลางควรกำหนดแนวทางการดำเนินงานหรือแนวทางการ

                        ขับเคลื่อนโครงการฯ ให้มีความชัดเจนมากกว่าปัจจุบันและทำการสื่อสารลงไปยังเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
                        ในระดับพื้นที่
                       • เนื่องจากจำนวนของเกษตรกรที่เข้าร่วมในแต่ละปีมีจำนวนมากขึ้นทำให้เกษตรกรผู้นำที่ทำหน้าที่

                        ถ่ายทอดองค์ความรู้และเป็นต้นแบบให้กับเกษตรกรรายใหม่ที่เข้าร่วมโครงการฯ ไม่สามารถถ่ายทอด
                        องค์ความรู้ให้กับเกษตรกรได้อย่างทั่วถึง นอกจากนั้น บางพื้นที่มีปราชญ์เกษตรหรือเกษตรกรต้นแบบ

                        จำนวนน้อยทำให้ไม่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรรายใหม่ที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้อย่าง
                        ทั่วถึงและต่อเนื่อง รวมทั้งข้อจำกัดของบุคลากรในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดังนั้น ควรปรับแนว

                        ทางการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อให้เกษตรกรสามารถได้รับองค์ความรู้อย่างทั่วถึง โดยอาจพิจารณา
                        ประสานกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่ใกล้เคียงให้มาช่วยถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกร และเพิ่ม

                        ช่องทางการเผยแพร่องค์ความรู้ให้มากขึ้น พร้อมรูปแบบขององค์ความรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างของ
                        อายุและการศึกษาของเกษตรกรโดยใช้โอกาสจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น ทำคลิปวีดีโอ
                        ถ่ายทอดองค์ความรู้เผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้เกษตรกรสามารถเรียนรู้ได้ด้วย

                        ตนเองตลอดเวลา
                       • ควรพิจารณาปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานกับช่วงเวลาการเริ่มปรับเปลี่ยนของเกษตรกรตามที่

                        โครงการฯ ได้กำหนดไว้ซึ่งนิยมกำหนดตามรายปีงบประมาณปกติของทางราชการให้สอดคล้องกันมาก
                        ขึ้น เนื่องจากการปรับเปลี่ยนไปสู่แบบเกษตรทฤษฎีใหม่ต้องใช้ระยะเวลาหลายปีจึงจะเห็นผลเป็น

                        รูปธรรม
                       • อีกหนึ่งปัญหาที่ค้นพบคือ เกษตรกรบางส่วนไม่ได้จัดทำแผนการผลิต เนื่องจากไม่ทราบว่าจะต้องทำ

                        และบางส่วนไม่มีความรู้ในการจัดทำแผนการผลิต และไม่เห็นความสำคัญของแผนการผลิต และ
                        เกษตรกรบางส่วนมีความคาดหวังว่าจะได้ปัจจัยการผลิตสนับสนุนจากภาครัฐเป็นจำนวนมากซึ่งไม่

                        สอดคล้องกับความจริงที่หน่วยงานภาครัฐจะทำการสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพียงเบื้องต้นเท่านั้น ดังนั้น
                        ควรพิจารณาปรับรูปแบบในการจัดทำแผนการผลิตให้ง่ายและสะดวกกับเกษตรกรในการจัดทำให้มาก

                        ขึ้น พร้อมผูกโยงเรื่องการทำแผนการผลิตเป็นหนึ่งในเงื่อนไขในการได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาครัฐ
                        นอกจากนั้น ควรชี้แจงให้เกษตรกรได้ทราบถึงความสำคัญของการจัดทำแผนการผลิต และให้ข้อมูลที่
                        ชัดเจนถึงระดับความช่วยเหลือของภาครัฐสำหรับนโยบายนี้

                       • ควรเพิ่มกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมการตลาดให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ เนื่องจากปัจจุบันเน้น
                        ไปที่การบริโภคในครัวเป็นหลัก



                                                             92
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115