Page 104 -
P. 104

์
                                                                   ิ
                                           ิ
                              ื
                                 ิ
                                                                                ิ
              โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                        ในช่วงเพาะปลูก ทำให้บางหลักสูตรจัดเวลาการอบรมลำบาก/ผู้เข้ารับการอบรมน้อย หรือผู้เข้ารับการ

                        อบรมไม่ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้น ควรบูรณาการการจัดอบรมระหว่างหน่วยงานต่างๆ โดยคำนึงถึง
                        ความต้องการของพื้นที่เป็นสำคัญ
                       • เพื่อปรับตัวให้พร้อมรับกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ควรพิจารณา

                        ปรับเปลี่ยนผู้นำเกษตรกรให้เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ เนื่องจากมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
                        และสื่อสารออนไลน์ได้ หรือพิจารณาเพิ่มเติมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและสื่อสารออนไลน์ให้กับ

                        ผู้นำเกษตรกรรุ่นเก่า
                       • ข้อมูลหลายอย่างถูกนำมารวมในรูปแบบของโปสเตอร์ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูงและเกิด

                        ประโยชน์น้อย ควรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปของเทคโนโลยีดิจิทัลให้มากขึ้นดังนั้นการ
                        ได้ผู้นำเกษตรกรที่เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่น่าจะมาช่วยแก้ไขจุดนี้ได  ้

                       • ควรพิจารณาพัฒนาและปรับปรุงวิธีการถ่ายทอดความรู้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยจัดทำ
                        สื่อเนื้อหาวิชาให้ทันสมัย รูปแบบน่าสนใจ และตรงกับความต้องการของเกษตรกร และแนวโน้มตลาด

                        สินค้าเกษตร เพิ่มวิชาการตลาดออนไลน์ และออฟไลน์ในกลุ่มเกษตรกรที่มีความพร้อม เป็นต้น และเน้น
                        การฝึกฝนในภาคปฏิบัติให้มากขึ้น พร้อมระบบการประเมินผลสัมฤทธิ์ที่ไม่ได้วัดเพียงจำนวนผู้เข้าร่วม

                        อบรม
                       • ควรพิจารณาหาแนวทาง (อาทิ แรงจูงใจ) ให้เกษตรกรต้นแบบให้เวลากับการถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกร
                        ในพื้นที่ให้มากขึ้นเพื่อชดเชยค่าเสียโอกาสที่สูญเสียไป

                       • การจัดอบรมของศูนย์ยังมีการเชื่อมโยงกับภาคเอกชนน้อย ดังนั้น ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้

                        ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดฝึกอบรมเพื่อให้การผลิตของเกษตรกรสอดคล้องกับความต้องการ
                        ของตลาด
                       • ปัจจุบันการสนับสนุนปัจจัยการผลิต/วัสดุอุปกรณ์ในการพัฒนาศักยภาพ ศพก. เป็นงบดำเนินงานซึ่ง

                        กำหนดให้เบิกจ่ายในลักษณะค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ ทำให้การพัฒนา ศพก. ต้องดำเนินการโดย
                        สร้างจากวัสดุที่ไม่คงทนถาวร ส่งผลให้ฐานเรียนรู้เป็นแบบชั่วคราวเสียหายได้ง่าย ไม่สามารถใช้

                        ประโยชน์ได้นานอย่างเต็มที่ ดังนั้น ควรพิจารณาปรับรูปแบบการใช้จ่ายงบประมาณให้มีความยืดหยุ่น
                        มากขึ้นและสอดคล้องกับการดำเนินงานตามภารกิจของ ศพก. แต่ละแห่ง

                       • เนื่องจากเกษตรกรบางส่วนยังไม่ทราบบทบาทและภารกิจงานที่ต้องดำเนินงานในศูนย์เครือข่ายที่มีการ
                        จัดตั้งในแต่ละอำเภอ ดังนั้น ควรมีการกำหนดบทบาทและภารกิจงานของศูนย์เครือข่ายที่ต้อง

                        ดำเนินการให้ชัดเจน
                       • ปัจจุบันการกระจายศูนย์เครือข่ายยังไม่ชัดเจนและไม่สอดคล้องกับจำนวนเกษตรกรในพื้นที่ เช่น บาง

                        อำเภอมีขนาดเล็กและมีจำนวนเกษตรกรไม่มาก แต่มีศูนย์เครือข้ายหลายศูนย์เนื่องจากเกษตรกรมี
                        ความเข้มแข็ง ดังนั้น ควรพิจารณาจำนวนศูนย์เครือข่ายให้สอดคล้องกับจำนวนของเกษตรกรในพื้นที่

                        เพื่อให้การใช้งบประมาณมีความสอดคล้องกับกิจกรรมของศูนย์เครือข่าย


                                                             86
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109