Page 103 -
P. 103

ื
                                           ิ
                                 ิ
                                               ์
              โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                                ิ
                                                                   ิ
                       3.  ควรแนวทางดึงดูดแรงงานวัยหนุ่มสาวจนถึงวัยกลางคนที่มีศักยภาพให้หันมาทำเกษตรมากขึ้น อาทิ

                          การให้เงินช่วยเหลือพร้อมหลักประกันความเสียหายของผลผลิตในช่วงต้นของการทำเกษตร สินเชื่อ
                          ดอกเบี้ยต่ำ และระบบพี่เลี้ยงที่คอยให้คำปรึกษาเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง
                       4.  ส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยเข้าถึงและใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และสนับสนุน Sharing

                          economy ผ่านการส่งเสริมตลาดเช่าบริการเครื่องจักรกลการเกษตร/เทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่ เป็น
                          ต้น งานวิจัยในอดีตพบว่าการนำเครื่องจักรกลการเกษตร/เทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่มาใช้ในการ

                          บริหารจัดการแปลงจะช่วยยกระดับผลผลิตต่อไร่ รวมถึงช่วยลดต้นทุนการผลิตและลดหนี้สิ้นให้กับ
                          เกษตรกรอีกด้วย (อาทิ Benin, 2015; Chen, 2020; Pochanasomboon, 2020) นอกจากนั้น การ

                          ใช้เครื่องจักรกลสมัยใหม่ยังช่วยลดมลพิษทางอากาศจากฝุ่นพิษ PM2.5 ที่เกิดจากการเผาเพื่อเก็บ
                          เกี่ยวและจัดการแปลงของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว อ้อย และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้อีกด้วย (วิษณุ อรรถวา

                          นิช, 2562; Attavanich et al., 2020)
                       5.  เกษตรกรส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมนโยบายเป็นสมาชิกของสถาบันเกษตรกร (ธ.ก.ส. สหกรณ์การเกษตร
                          และกลุ่มเกษตรกร) การเพิ่มความเข้มแข็งและบทบาทให้กับสถาบันเกษตรกรน่าจะช่วยให้นโยบาย

                          ต่างๆ ประสบความสำเร็จได้มากขึ้น
                       6.  ควรมีการประเมินบุคลากรที่ดำเนินงานทั้ง 8 นโยบายข้างต้นเพราะแม้นโยบายดีแต่หากผู้ดำเนินงาน

                                                                                                        ิ
                          ไม่ได้ดำเนินงานอย่างเต็มที่ นโยบายที่ดีย่อมไม่ประสบความสำเร็จ พร้อมพิจารณาให้แรงจูงใจเชงบวก
                          สนับสนุนบุคลากรที่ทำผลงานได้ดี และให้แรงจูงใจเชิงลบสำหรับบุคลากรที่ทำผลงานได้ต่ำกว่า
                          เป้าหมาย


                   5.3 ข้อเสนอแนะสำหรับแต่ละนโยบาย

                       5.3.1 ข้อเสนอแนะสำหรับนโยบายบริหารจัดการน้ำ
                       • ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นความสำคัญของทรัพยากรน้ำในการยกระดับสถานะทางเศรษฐกิจของ

                        เกษตรกร ดังนั้น ควรมีสนับสนุนการขยายเขตชลประทานในพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง ปัจจุบันมีครัวเรือน
                        เกษตรเพียง 26.23% ที่สามารถเข้าถึงระบบชลประทาน และควรส่งเสริมการขยายแหล่งน้ำนอกเขต

                        ชลประทาน อาทิ การทำบ่อจิ๋ว เพิ่มด้วย
                       • แม้ว่านโยบายการบริหารจัดการน้ำจะช่วยเพิ่มรายได้สุทธิ 10,365 บาท/ไร่/ปี แต่ยังพบว่ารายได้สุทธิ/

                        ไร่/ปีอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับต่างประเทศ โดยเฉพาะในเขตชลประทานซึ่งปลูกข้าวเป็นหลัก ดังนั้น
                        ควรหาแนวทางยกระดับประสิทธิภาพการผลิต และปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตใหม่ โดยเฉพาะการทำ

                        เกษตรผสมผสาน ดังที่ได้นำเสนอไว้ในข้อเสนอแนะในภาพรวม (ภาพที่ 6)

                       5.3.2 ข้อเสนอแนะสำหรับนโยบาย ศพก.

                       • สำหรับโครงการนี้หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะมีการจัดอบรมปีละหลายครั้ง โดยแต่

                        ละหน่วยงานจะเป็นผู้ดำเนินการจัดอบรมเอง ทำให้บางช่วงเวลามีการอบรมถี่เกินไป หรือมีการจัดอบรม
                                                             85
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108