Page 102 -
P. 102
์
ิ
ิ
ิ
ื
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ิ
พบว่า การให้เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่าเป็นการฉุดรั้งไม่ให้เกษตรกรปรับตัวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ
ผลิต และฉุดรั้งไม่ให้เกษตรกรทำการปลูกพืชแบบหมุนเวียน หรือปลูกแบบผสมผสาน โดย
Attavanich et al. (2019) พบว่า เกษตรผสมผสานหลายรูปแบบให้ผลตอบแทนสูงกว่าในระดับ
ความเสี่ยงเดียวกับเกษตรเชิงเดี่ยว และเมื่อพิจารณาเฉพาะครัวเรือนที่ปลูกข้าวพบว่าการทำเกษตร
แบบหลากหลายจะให้ผลตอบแทนต่อความเสี่ยงสูงกว่าการปลูกข้าวอย่างเดียวในเกือบทุกพื้นที่ โดย
ร้อยละ 92 ของการปลูกข้าวร่วมกับพืชหลักอื่น ๆ จะให้ผลตอบแทนที่ปรับด้วยความเสี่ยงสูงกว่าการ
ปลูกข้าวเชิงเดี่ยว ดังแสดงในภาพที่ 6
ภาพที่ 6. ผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการทำเกษตรเชิงเดี๋ยวและเกษตรผสมผสานในรูปแบบต่างๆ
ที่มา: Attavanich et al. (2019)
2. ควรสนับสนุนให้เกษตรกรเข้าอบรมรับความรู้เพิ่มเติมและฝึกปฏิบัติจริง พร้อมการประเมินผลสัมฤทธิ์
ที่ไม่ได้วัดเพียงจำนวนผู้เข้าร่วมอบรม เช่น ความรู้ด้านตลาด การปลูกพืชอื่นที่ใช้น้ำน้อยแทนข้าว การ
พัฒนาคุณภาพสินค้า และการใช้เครื่องจักรกลสมัยใหม่ และเพื่อให้การขยายผลองค์ความรู้สามารถ
ทำได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็วและเป็นการลดข้อจำกัดด้านกำลังคนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่
มีอยู่อย่างจำกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควรพิจารณาขอความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาใน
พื้นที่พร้อมกับงบประมาณสนับสนุนที่เพียงพอ
84