Page 92 -
P. 92
ิ
ื
ิ
ิ
์
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1) ที่ตั้งเป้าว่า ต้นทุนจะลดลง ต้นทุนปัจจัยการผลิตจะถูกลง ราคาจะดีขึ้น แต่ในความเป็นจริง สินค้า
เกษตรที่มีคุณภาพเท่าที่อื่น ก็ราคาไม่ต่าง ยกตัวอย่างเช่น ตลาดไม่ได้ให้คุณค่า GAP เว้นแต่อินทรีย์ที่อาจได้ราคา
ต่าง ดังนั้น จากที่เน้นเรื่อง GAP หรือเกษตรอินทรีย์ เลยไม่ได้จูงใจเกษตรกร
2) ปัญหาที่หาแปลงติดกันไม่ได้ โดยแปลงใหญ่ยังคงเป็นแปลงใครแปลงมัน และไม่ได้ติดกันจากเดิมตั้ง
เป้า 300 ไร่ ปัจจุบันเหลือ 300 ไร่ แบบไม่ติดกัน ไม่ได้มีอำนาจต่อรอง ตัวอย่าง เช่น ข้าว ที่ผลผลิตก็ยังน้อย เลย
ยังไม่มีอำนาจต่อรองราคากับโรงสี ซึ่งปัญหาที่หาแปลงติดกันไม่ได้ เกิดจากลักษณะการเพาะปลูก เช่น ภาคอีสาน
ที่นา กับบ้าน จะอยู่คนละที่ ทำแต่ยังมีปัญหาบิ้งนา หรือ คันนามีความถี่ย่อย ยังเป็นอุปสรรคในการดำเนินงานเช่น
นำรถไถ รถเก็บเกี่ยว เครื่องจักรใหญ่ไปลงไม่ได้ แต่กรณีของ จ.พระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่แปลงใหญ่ แต่พื้นที่ไม่
ติดกัน เพราะมีบ้านคั่นกลาง ที่ผ่านมารัฐมีการจูงโดยการให้เงินสนับสนุน ด้านต่างๆ เช่นปัจจัยการผลิต แต่ยังไม่
สามารถจูงใจเรื่องการรวมพื้นที่ได้ เพราะต้องปรับพื้นที่รวมกับแปลงของคนอื่นและแบ่งผลผลิตกัน อีกทั้งการจัดรูป
ที่ดิน ขยายบิ้งนา รัฐไม่ได้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดการรวมแปลงปัจจุบัน ในปัจจุบันมีการดำเนินงานในภาคกลาง
เพราะมีพื้นที่ค่อนข้างใหญ่ อย่างน้อยจะครอบครองคนละ 20 กว่าไร่ขึ้น ในชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี ซึ่งมีการจัดรูป
แปลง ในกรณีสุพรรณบุรี เริ่มมีการจัดรูปแปลงใหญ่ มีการประหยัดน้ำ แต่ยังมีไม่มาก
3) เป็นอีกโครงการที่ควรต้องถ่ายโอนความเป็นเจ้าของให้ผู้จัดการแปลง โดยตอนนี้มีการจัดให้ผู้จัดการ
แปลงไปอบรมกับโรงเรียนปัญญาภิวัฒน์ เพื่อให้มีความรู้ด้านตลาดและการบริหารจัดการ แต่เกษตรกรยังเป็นรุ่น
เก่า ยังไม่ง่ายต่อการเข้าใจการบริหารจัดการ อีกทั้งยังไม่มีค่าตอบแทน คนที่เสียสละยังไม่มาก การจะให้เกษตรกร
เป็นผู้จัดการ ควรต้องมีค่าตอบแทน หรือค่าบริหารจัดการ หรือต้องให้เห็นภาพว่าจะได้อะไร ทั้งนี้ ต้องสร้างให้
เกษตรกรมีความมั่นใจเชื่อมั่น ภาครัฐ ซึ่งปัจจุบันยังเชื่อคนขายปุ๋ยยามากกว่าเชื่อเกษตรตำบล/เกษตรอำเภอ
4) ปัญหาการบูรณาการส่วนราชการ ยังต่างคนต่างทำ ทุกกรมอยากเข้ามามีส่วนในการของบประมาณ มี
แปลงใหญ่เป็นโครงการภายใต้ภาระงานของตนเอง เมื่อแต่ละกรมเข้าในพื้นที่ ก็จะเสาะหาพื้นที่ที่มีเกษตรกรที่
เข้มแข็งอยู่แล้ว (หากได้ผู้นำเก่ง รวมแปลงให้ง่ายๆ ก็สำเร็จได้) ซึ่งก็อาจจะมีปัญหาความซ้ำซ้อนได้
5) ปัญหาการขาดแคลนน้ำ เช่น การบริหารจัดการน้ำ แปลง A เป็นของกรมชล กรมก็ต้องให้น้ำดีสุด แต่
แปลงท้ายๆที่เป็นแปลงใหญ่ของกรมส่งเสริมก็คิดว่าตนไม่ได้รับการดูแล ซึ่งอันที่จริงเป็นหลักปกติของการให้น้ำ
6) แปลงใหญ่ต้องมี GAP แต่การรับรองยังไม่ง่าย ไม่มีงบพอ (ซึ่งผู้บริโภคก็ยังไม่ได้ให้ความสำคัญ)
7) แปลงใหญ่ที่พร้อม มีเกินครึ่ง แต่ที่ดีจริงๆ ดูแลตัวเองได้น่าจะ 20-30% ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของไม้ผล
พวกพืชไร่ยังยาก และมีโครงการประกันรายได้ อาจจะยังไม่ต้องอาศัยแปลงใหญ่ ซึ่งเป็นตัวอย่างของบางนโยบายที่
ออกมาแล้ว กระทบกับอีกโครงการ
8) ภาครัฐจะต้องคุยกับเกษตรกรตั้งแต่ต้นของโครงการว่าบทบาทของภาครัฐคืออะไรจะต้องลงทุนช่วย
ส่วนไหนและเกษตรกรเองจะต้องลงทุนส่วนไหนบ้างเพราะภาครัฐไม่สามารถที่จะสนับสนุนโครงการแปลงใหญ่ของ
เกษตรกรได้ทั้งหมดเนื่องจากงบประมาณมีจำกัดการพูดคุยกันก่อนจะทำให้เกษตรกรไม่เกิดความหวังว่าจะต้อง
ได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐทั้งหมด
74