Page 88 -
P. 88

ิ
                              ื
                                                                                ิ
                                                                   ิ
                                               ์
                                           ิ
              โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
               ตารางที่ 19 สรุปผลกระทบของนโยบายที่ศึกษาต่อรายได้เกษตรทางตรงต่อไร่ ต้นทุนการผลิตต่อไร่ รายได้สุทธิ

               เกษตรทางตรงต่อไร่ (บาท/ไร่/ปี)
                                             รายได้เกษตร       ต้นทุนการ         รายได้สุทธิเกษตร
                 นโยบายที่ศึกษา              ทางตรงต่อไร่       ผลิตต่อไร่          ทางตรงต่อไร่

                ศพก.                               1,644           2,644                   -992

                แปลงใหญ่                          -2,633          -1,558  **             -1,080

                การบริหารจัดการน้ำ               18,401  **        8,053  **             10,365  **

                แผนการผลิตข้าวครบวงจร             -5,110  **      -1,986  ***            -3,133  **

                Zoning by Agri-Map                -2,629  **        -845  **               -689  **

                ธนาคารสินค้าเกษตร                -20,382  **      -8,228  **            -12,195  **
                มาตรฐานสินค้าเกษตร GAP/          -24,308         -23,397                 -1,145

                เกษตรอินทรีย์

                เกษตรทฤษฎีใหม่                   44,759           23,221                 21,655
               หมายเหตุ: ***,**,* แสดงระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ร้อยละ 1 5 และ 10 ตามลำดับ


                       4.4.6 มูลค่าผลประโยชน์สุทธิของนโยบายที่ศึกษา
                          ในขั้นตอนถัดไป การศึกษาได้ทำการประเมินมูลค่าผลประโยชน์ของนโบายทั้ง 8 นโยบายที่ครัวเรือน

               เกษตรได้รับประโยชน์ โดยนำรายได้สุทธิคูณกับจำนวนครัวเรือนเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากนโยบาย ภายใต้ข้อ
               สมมติว่าครัวเรือนเกษตรมีจำนวนเท่ากับ 8.06 ล้านครัวเรือน ซึ่งเป็นข้อมูลที่รายงานจากฐานข้อมูล Farmer One
               ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผลการศึกษาพบว่า นโยบายการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งมี 26.23% ของครัวเรือน

               เกษตรทั้งหมดเข้าถึงนโยบาย เป็นเพียงนโยบายเดียวที่สร้างผลประโยชน์เชิงบวกจากทั้ง 8 นโยบายที่ได้
               ทำการศึกษา โดยสามารถสร้างมูลค่าผลประโยชน์เท่ากับ 378,221 ล้านบาท/ปี ซึ่งนับว่าคุ้มค่าเมื่อเทียบกับ

               งบประมาณแผ่นดินที่ใช้จ่ายในแต่ละปีเฉลี่ย 60,742 ล้านบาท/ปี ขณะที่พบว่า 3 นโยบายกลับสร้างผลกระทบใน
               เชิงลบและยังไม่คุ้มค่ากับการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน ได้แก่ นโยบายแผนการผลิตข้าวครบวงจร นโยบาย

               Zoning by Agri-Map และนโยบายธนาคารสินค้าเกษตร โดยนโยบายแผนการผลิตข้าวครบวงจร ซึ่งมีครัวเรือน
               เกษตรที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายนี้จำนวน 3.497827 ล้านครัวเรือน ทำให้มูลค่าผลประโยชน์ติดลบ 150,959

               ล้านบาท/ปี ส่วนนโยบาย Zoning by Agri-Map ที่มีครัวเรือนเกษตรเข้าร่วมประมาณ 1.80% ของครัวเรือน
               เกษตรทั้งหมด ทำให้มูลค่าผลประโยชน์ติดลบ 4,785 ล้านบาท/ปี และนโยบายธนาคารสินค้าเกษตรที่มีครัวเรือน
               เกษตรเข้าร่วมประมาณ 4.129% ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด ทำให้มูลค่าผลประโยชน์ติดลบ 41,790 ล้านบาท/ปี

               เมื่อนำมูลค่าผลประโยชน์ของทั้ง 4 โครงการข้างต้นมารวมกัน




                                                             70
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93