Page 89 -
P. 89
ื
ิ
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
์
ิ
ผลการศึกษาพบว่า ทั้ง 8 นโยบายเกษตรที่ศึกษา สร้างมูลค่าผลประโยชน์เท่ากับ 180,686.25 ล้าน
บาท/ปี และเมื่อนำมาหักลบกับงบประมาณที่ใช้จ่ายตลอด 3 ปี ของทั้ง 8 โครงการประมาณเฉลี่ย 73,779 ล้าน
บาท/ปี ทำให้สามารถสรุปได้ว่า ทั้ง 8 นโยบายที่ศึกษาโดยภาพรวมสามารถสร้างมูลค่าผลประโยชน์สุทธิเชิงบวก
รวม +106,908 ล้านบาท/ปี สะท้อนให้เห็นว่าโดยภาพรวมการใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่า อย่างไรก็ตามหาก
พิจารณาเป็นรายนโยบายจะพบว่ามีเพียงนโยบายการบริหารจัดการน้ำเท่านั้นที่มีความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจกับ
งบประมาณที่ใช้จ่าย ขณะที่นโยบายที่เหลือพบว่ายังไม่มีความคุ้มค่ากับงบประมาณที่ใช้จ่าย และควรพิจารณาหา
แนวทางปรับปรุงให้มีความคุ้มค่ามากขึ้น นอกจากนั้น นโยบายเกษตรทั้ง 8 นโยบายพบว่ายังช่วยลดภาระหนี้สิน
ของครัวเรือนเกษตรได้น้อยมาก ซึ่งควรปรับปรุงการดำเนินงานให้นโยบายสามารถช่วยลดภาระหนี้สินของ
ครัวเรือนเกษตรได้เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับเกษตรกร
4.5 ข้อมูลสรุปจากการสัมภาษณ์เชิงลึก
การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับนโยบายทั้ง 8 นโยบาย ได้แก่ สำนักงาน
เศรษฐกิจการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมวิชาการเกษตร กรมการ
ข้าว กรมปศุสัตว์ และกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงผู้แทนจากสภาเกษตรกรแห่งชาติ ซึ่ง
สามารถสรุปได้ดังนี้
4.5.1 ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)
ปัจจุบันมี ศูนย์หลัก 882 (882 อำเภอ) และศูนย์เครือข่าย ตามแต่ละจังหวัด (เพิ่มมาในบางอำเภอ
โดยบางตำบลมีมากกว่า 1 ศูนย์ ) บางจังหวัดมีหลายศูนย์เครือข่ายและมีหลากหลายสินค้า แต่บางจังหวัดก็อาจจะ
มีไม่มาก แต่ไม่ได้กำหนดจำนวนศูนย์ในจังหวัด แต่ละอำเภอมีจำนวนศูนย์ไม่เท่ากัน เพราะการกำหนดนโยบายยัง
ไม่ชัด
1) ปัญหาด้านงบประมาณ ศูนย์หลักไม่มีปัญหาด้านงบประมาณ แต่ศูนย์เครือข่าย ซึ่งเดิมตั้งเป้า 4,579
ศูนย์ แต่ปัจจุบันมี 4,393 ศูนย์ โดยมีศูนย์ที่มีปัญหากว่า 50 % โดยงบประมาณมีจำกัด งบจังหวัดมีให้รายอำเภอ
ปีละ 3 ศูนย์ แต่ไม่ได้ให้งบประมาณตามสัดส่วนศูนย์ในแต่ละอำเภอ
2) ภารกิจศูนย์เครือข่ายยังไม่ชัดเจน เกษตรกรบางส่วนยังไม่ทราบบทบาทและภารกิจงานที่ต้อง
ดำเนินงาน
3) การกระจายศูนย์เครือข่ายปัจจุบันยังไม่ชัดเจน และไม่สอดคล้องกับจำนวนเกษตรกร ปัจจุบันบาง
อำเภอขนาดเล็กแต่มีเกษตรกรเข้มแข็งก็มีการตั้งหลายศูนย์ ทั้งนี้ในปัจจุบันศูนย์เครือข่าย 90% มีความเชื่อมโยง
กับศูนย์หลัก แต่ที่เหลือไม่ชัดเจน ซึ่งศูนย์หลักที่มีความพร้อมจะพอช่วยศูนย์เครือข่ายได้บ้าง
4) เจ้าของศูนย์ยังขาดความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยีการสื่อสาร การจะไปทำถ่ายทอดองค์ความรู้ด้วย
เทคโนโลยีสื่อสารยังยาก จึงยังต้องใช้เชิงปฏิบัติ ตัวต่อตัว ยกตัวอย่างปัจจุบันเมื่อเจอปัญหาโควิด-19 ก็ไม่มี
ช่องทางถ่ายทอด ไม่มีคลิป เพื่อสื่อสาร บางศูนย์อาจมี จนท. ช่วยดำเนินการให้ แต่บางศูนย์ไม่มี ดังนั้นหากมี
71