Page 86 -
P. 86

ิ
                                               ์
                              ื
                                 ิ
                                                                   ิ
              โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                                ิ
               ตารางที่ 16 ความแตกต่างของรายได้สุทธิเกษตรทางตรงต่อไร่ถือครองจากการเข้าร่วมแต่ละนโยบายของครัวเรือน

               เกษตรเมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ (บาท/ไร่/ปี)
                สถานะการเข้าร่วมนโยบาย                              ความแตกต่าง       ค่าคลาดเคลื่อนมาตรฐาน
                (1          vs       0)                                    -992                        1,802

                (2          vs       0)                                  -1,080                        1,960
                (3          vs       0)                                  10,365  **                    3,924
                (4          vs       0)                                  -3,133  **                     518
                (5          vs       0)                                    -689  **                      74

                (6          vs       0)                                 -12,195  **                    2,790
                (7          vs       0)                                  -1,145                     147,779
                (8          vs       0)                                  21,655                      41,656
               หมายเหตุ: 0 คือ สถานะไม่ได้เข้าร่วมนโยบาย; 1 คือ สถานะเข้าร่วมนโยบาย ศพก; 2 คือ สถานะเข้าร่วมนโยบายแปลงใหญ่; 3 คือ สถานะเข้าร่วม
               นโยบายบริหารจัดการน้ำ; 4 คือ สถานะเข้าร่วมนโยบายแผนการผลิตข้าวครบวงจร; 5 คือ สถานะเข้าร่วมนโยบาย Zoning by Agri-Map; 6 คือ สถานะ
               เข้าร่วมนโยบายธนาคารสินค้าเกษตร; 7 คือ สถานะเข้าร่วมนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตร GAP/เกษตรอินทรีย์; และ 8 คือ สถานะเข้าร่วมนโยบาย
               ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ และ ***,**,* แสดงระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ร้อยละ 1 5 และ 10 ตามลำดับ


                       4.4.4 ผลกระทบของนโยบายต่อสัดส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินรวม
                          4.4.4.1 ผลกระทบของนโยบายต่อสัดส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินรวม

                              ท้ายสุด การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการประเมินผลกระทบของนโยบายเกษตรทั้ง 8 นโยบายต่อภาระ
               หนี้สินของครัวเรือนเกษตร ซึ่งใช้ตัวชี้วัดภาระหนี้ของครัวเรือนเกษตรผ่านสัดส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินรวมของ

               ครัวเรือนเกษตร โดยผลการศึกษาพบว่า มีเพียง นโยบาย Zoning by Agri-Map ที่สามารถช่วยลดสัดส่วนหนี้สิน
               ต่อทรัพย์สินรวมของครัวเรือนเกษตรเท่ากับ -0.38 ขณะที่นโยบายธนาคารสินค้าเกษตรกลับทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อ
               ทรัพย์สินรวมของครัวเรือนเกษตรเพิ่มขึ้น 0.18 ส่วนนโยบายอื่นๆ ที่เหลือ ไม่พบว่าทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สิน

               รวมของครัวเรือนเกษตรเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด (ตารางที่ 17)


                       4.4.5 สรุปผลกระทบของทั้ง 8 นโยบายที่ศึกษา
                              ตารางที่ 18 และ 19 ได้ทำการสรุปผลกระทบของนโยบายทั้ง 8 นโยบายที่ศึกษาจากส่วนที่
               4.4.1-4.4.4 โดยตารางที่ 18 ได้ทำการสรุปผลกระทบของนโยบายทั้ง 8 นโยบายที่ศึกษาต่อรายได้เกษตรทางตรง

               ต้นทุนการผลิต รายได้สุทธิเกษตรทางตรง และสัดส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินรวม และตารางที่ 19 ได้ทำการสรุปผล
               กระทบของนโยบายทั้ง 8 นโยบายที่ศึกษาต่อรายได้เกษตรทางตรงต่อไร่ถือครอง ต้นทุนการผลิตต่อไร่ถือครอง

               และรายได้สุทธิเกษตรทางตรงต่อไร่ถือครอง







                                                             68
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91