Page 81 -
P. 81
ิ
ิ
ิ
์
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ื
ิ
4.3 ผลการทดสอบข้อสมมติ Non-Empty Cell
การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการตรวจสอบข้อสมมติ Non-Empty Cell ซึ่งบ่งชี้ว่าค่าคะแนนความโน้มเอียงที่
ประมาณได้ในแต่ละครัวเรือนเกษตรจะต้องไม่ความน่าจะเป็นในการเข้าร่วมนโยบายไม่เท่าศูนย์หรือไม่เท่ากับหนึ่ง
โดยภาพที่ 5 แสดงตัวอย่างของการแจกแจงของค่าคะแนนความโน้มเอียงเพื่อตรวจสอบข้อสมมติ Non-empty
cell กรณีความน่าจะเป็นของการไม่เข้าร่วมนโยบาย (w=0) ซึ่งพบว่าการแจกแจงของค่าคะแนนความโน้มเอียง
กระจุกตัวอยู่ที่ศูนย์น้อยมากและไม่มีค่าที่กระจุกตัวอยู่ที่หนึ่งแสดงให้เห็นว่าผลการประมาณค่าสอดคล้องกับข้อ
สมมติ Non-Empty Cell ผู้วิจัยได้ทำการตรวจสอบการแจกแจงของค่าคะแนนความโน้มเอียงเพื่อตรวจสอบข้อ
สมมติ Non-Empty Cell กรณีความน่าจะเป็นของการเข้าร่วมนโยบายอีกทั้งหมด 27 ทางเลือก (w=1, w=2,..,
w=27) ซึ่งพบว่าผลการศึกษาสอดคล้องกับข้อสมมติ Non-Empty Cell
ภาพที่ 5. การแจกแจงของค่าคะแนนความโน้มเอียงเพื่อตรวจสอบข้อสมมติ Non-empty cell
4.4 การประมาณค่าผลกระทบของนโยบายเกษตร
ส่วนนี้นำเสนอผลการประมาณค่าผลกระทบของนโยบายเกษตรทั้ง 8 นโยบายทั้งในมิติของรายได้เกษตร
ทางตรง ต้นทุนการผลิต และรายได้สุทธิเกษตรทางตรง โดยจะวัดทั้ง 3 ด้านนี้เทียบกับพื้นที่ไร่ถือครองด้วยเพื่อให้
สะท้อนศักยภาพในการใช้ประโยชน์จากที่ดินทางการเกษตร และท้ายสุดได้เสนอผลการประมาณค่าผลกระทบของ
นโยบายเกษตรทั้ง 8 นโยบายต่อสัดส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินรวมของครัวเรือนเกษตร ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้
63