Page 90 -
P. 90

์
                                                                   ิ
                              ื
                                           ิ
                                 ิ
                                                                                ิ
              โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
               เครื่องมือ หรือมีการทำเป็นภาพรวมส่วนกลาง แบ่งเรื่องการอบรมให้ความรู้ตามแต่ละกรม เช่น กรมประมง กรม

               ปศุสัตว์ อาจช่วยได้ ทั้งนี้แต่ยังไม่มีการเชื่อมโยงกับสถานศึกษา
                       5) การเชื่อมโยงภาคเอกชนยังมีน้อยมาก มีเฉพาะเอกชนที่สนใจจริงๆที่มาร่วม ในพื้นที่นั้นๆ แต่ใน
               ภาพรวมยังไม่มากนัก  อย่างสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า อาจจะเข้ามาร่วมเพียงน้อยนิดมาก มุ่งไปเฉพาะบาง

               พื้นที่ โดยระดมเกษตรกรพื้นที่นั้นดำเนินการเป็น 3-5 ปี สั้นๆ และมักเป็นพื้นที่ที่ใกล้ประสบความสำเร็จแล้ว
               ตัวอย่างเช่นภาคเอกชนลงแปลงใหญ่ ก็จะลงในที่ที่แปลงใหญ่ใกล้สำเร็จแล้ว ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะงบประมาณที่

               จำกัด บางประเด็นก็ไม่สามารถทำได้เช่น การลดต้นทุน
                       6) การบูรณาการในกระทรวง ดีขึ้น จากเดิมทุกๆ เรื่องไปรวมในศูนย์หลัก เมื่อมีศูนย์เครือข่าย ก็สามารถ

               แยกกลุ่มสินค้าตามความถนัดของแต่ละศูนย์  อย่างไรก็ตามเมื่อมีศูนย์เครือข่ายจำนวนมาก พบปัญหาว่าเจ้าหน้าที่
               ภาครัฐเช่น เกษตรตำบล เกษตรอำเภอ ต้องทำภารกิจหลากหลายมาก

                       7) ศูนย์หลัก ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ 2558-59  ปกติจะอาศัยบ้านเกษตรกรเป็นหลัก ไม่ใช่ที่สาธารณะ
               กรณีศูนย์ที่เข้มแข็ง สามารถให้เกษตรกรเป็นเจ้าของศูนย์ได้ แต่หากยังไม่เข้มแข็ง เจ้าของจะยังเป็นเกษตรตำบล
               เกษตรอำเภอ ซึ่งจะไม่สามารถดูแลทั้งหมดได้  ซึ่งในทางที่ดีควรให้เกษตรกรและชุมชนเป็นเจ้าของหลัก

               นอกจากนี้ เมื่อมีการย้ายข้าราชการที่เป็นเจ้าของศูนย์ การรวมตัวก็อ่อนแอลง หรือ กรณีที่เจ้าของศูนย์สูงอายุ มี
               ปัญหาสุขภาพ ไม่มีผู้รับช่วงต่อ  การจะเปลี่ยนศูนย์เป็นเรื่องยาก ต้องหาเกษตรกรที่พร้อมละสร้างโครงสร้างขึ้นมา

               ใหม่ ทางที่ดีควรมีที่ของรัฐ จะง่ายต่อการถ่ายโอนมากกว่า
                       8) ควรมีการพิจารณาปรับเปลี่ยนผู้นำเกษตรกรให้เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่เนื่องจากมีความสามารถในการใช้
               เทคโนโลยีดิจิทัลและสื่อสารออนไลน์ได  ้

                       9) หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีการจัดอบรมปีละหลายครั้ง โดยแต่ละหน่วยงานจะเป็น
               ผู้ดำเนินการจัดอบรมเอง ทำให้บางช่วงเวลามีการอบรมถี่เกินไป หรือมีการจัดอบรมในช่วงเพาะปลูก ทำให้บาง

               หลักสูตรจัดเวลาการอบรมลำบาก/ผู้เข้ารับการอบรมน้อย หรือผู้เข้ารับการอบรมไม่ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้ง
               เกษตรกรต้นแบบมีภาระหน้าที่อื่นๆ ทำให้ไม่มีเวลาจะถ่ายทอดความ รู้ได้ และ ศพก.

               บางแห่งไม่มีทีมงานในการถ่ายทอดความรู้
                       10) ข้อมูลหลายอย่างถูกนำมารวมในรูปแบบของโปสเตอร์ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูงและ

               เกิดประโยชน์น้อย ควรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปของเทคโนโลยีดิจิทัลให้มากขึ้นดังนั้นการได้ผู้นำ
               เกษตรกรที่เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่น่าจะมาช่วยแก้ไขจุดนี้ได  ้
                       11) ปัจจุบันโครงการแปลงใหญ่และโครงการศูนย์เรียนรู้ยังไม่เป็นเนื้อเดียวกัน

                       12) ประธานศูนย์เรียนรู้ซึ่งก็คือผู้นำเกษตรกรต้องทำงานหนักดังนั้นควรมีการพิจารณาค่าตอบแทนให้กับ
               ประธานศูนย์เรียนรู้

                       13) ควรหาแนวทางให้เกษตรกรได้มีส่วนร่วมในเชิงของค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของศูนย์ไม่ใช่รอรับ
               ความช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างเดียว ไม่ควรจะนำปัญหาเรื่องงบประมาณไม่เพียงพอมาเป็นข้ออ้างในการ

               ปฏิบัติงานในศูนย์เครือข่ายเนื่องจากปัจจุบันมีศูนย์หลักอยู่แล้ว



                                                             72
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95