Page 95 -
P. 95
์
ิ
ิ
ื
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
7) เกษตรกรบางส่วนไม่มีความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่
เกษตร เพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri - Map) เนื่องจากมีความเคยชินกับการปลูกพืชชนิดเดิม และยังไม่
มั่นใจในการปรับเปลี่ยนไปผลิตพืชชนิดใหม่
่
8) เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการบางส่วน ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เนื่องจากสาเหตุฝนทิ้งชวง ไม่มีแหล่ง
ื้
น้ำสำรอง และลักษณะของพนที่ไม่สม่ำเสมอทำให้พื้นที่ของเกษตรกรไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ดีเท่าที่ควร
9) เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการบางรายประสบปัญหาไม่มีตลาดในการจำหน่ายผลผลิต
10) เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้สำนักงานเกษตร
จังหวัดบางส่วนไม่สามารถดำเนินงานโครงการฯ ได้ตามเป้าหมาย เนื่องจากกิจกรรมหลักภายใต้โครงการฯ คือการ
อบรมให้ความรู้ และศึกษาดูงานพืชทางเลือกใหม่ให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องมีการ
รวมคน
11) การสำรวจพื้นที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้กำหนดเงื่อนไขให้เป็นพื้นที่เหมาะสมน้อย (S3) หรือไม่เหมาะสม
(N) แต่เมื่อได้รับข้อมูลพิกัดพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการฯ จากสำนักงานเกษตรจังหวัด และนำมาตรวจสอบ พบว่า มี
หลายพิกัดที่เป็นพื้นที่เหมาะสมมาก (S1) และเหมาะสมปานกลาง (S2) จึงต้องประสานจังหวัดให้หาพื้นที่ใหม่ที่ตรง
กับเงื่อนไขที่กำหนด
4.5.6 ธนาคารสินค้าเกษตร
1) มีการปรับเปลี่ยนแผนปฏิบัติการบ่อย
2) เกษตรกรไม่เข้าใจรูปแบบการดำเนินงานของธนาคาร เลยไม่ค่อยได้เข้ามาร่วมใช้บริการ หน่วยงานควร
ต้องสื่อสารกับเกษตรกรให้มากขึ้น ว่ามีผลดีผลเสียอย่างไร
3) งบประมาณค่อนข้างจำกัด ไม่ค่อยครอบคลุมด้านวัสดุอุปกรณ์
4) SEED HUB – ภาครัฐทำงานวิจัยค่อนข้างล่าช้า และกระจายลำบาก มีอันเดียวที่พอไปได้คือเมล็ดพันธ์
ข้าว อาจจะให้เอกชนมาทำแทนในสินค้าอื่นๆน่าจะดีกว่า เช่น ข้าวโพด
5) เน้นข้าว (80-90%) หม่อนไหม
6) ปัจจุบันพบว่าหน่วยงานต่างๆไม่บูรณาการการทำงานร่วมกันต่างคนต่างทำงานของตนเอง
7) บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐยังขาดความรู้ในเรื่องของหลักบริหารจัดการธนาคาร
8) รูปแบบปัจจุบันของธนาคารสินค้าเกษตรไม่ยั่งยืนเนื่องจากภาครัฐเป็นฝ่ายให้การสนับสนุนปัจจัยการ
ผลิตตลอดหากหยุดส่งเสริมเมื่อไหร่โครงการก็จะไม่สามารถดำเนินการต่อได้ ดังนั้นควรหาแนวทางที่จะให้พื้นที่
ดูแลตนเองเมื่อไม่มีความช่วยเหลือของภาครัฐ
4.5.7 มาตรฐานสินค้าเกษตร GAP/ เกษตรอินทรีย์
1) ปัญหาตลาดไม่นำการผลิต - ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว เรื่อง GAP โดยเฉพาะที่ไม่เกี่ยวกับการส่งออก (ที่
ส่องออกมากๆไม่ค่อยมีปัญหา ต้องผลักดันไม่ให้เสียตลาดอยู่แล้ว) โดยพืชอื่นๆ นอกจากผลไม้ส่งออก มักจะมี
ปัญหา (พืชไร่) ตลาดไม่ได้นำให้เกิด GAP
77