Page 34 -
P. 34
ุ
ิ
ื
ั
ิ
ิ
ิ
์
โครงการหนังสออเล็กทรอนกส เฉลมพระเกียรตสมเด็จพระเทพรตนราชสดาฯ สยามบรมราชกุมาร ี
หลักฐานล้านนาในเอกสารโบราณจีน
เลียนแบบจงซูเสิ่ง ต่อมามณฑลเหล่านี้กลายเป็นหน่วยงานถาวร มีภารกิจต้องก ากับบริหาร
มาก จึงมีการปรับระบบใหม่ เรียกชื่อมณฑลตามด้วยชื่อต าแหน่งนั้นๆ ไม่ใช้ค าว่า “จงซู” และ
ไม่ใชข้าหลวงก ากับจงซูเสิ่งไปก ากับมณฑลอีก อย่างไรก็ตาม มีการเปลี่ยนแปลงระบบเป็น
่
ระยะๆ ปีที่ 23 แห่งรัชศกจื้อหยวน หรือ ค.ศ.1286 / พ.ศ.1829 ยกเลิกต าแหน่งเฉิงเซี่ยง
(อัครมหาเสนาบดี) ประจ าท้องที่ ให้ผิงจังเจิ้งซื่อเป็นขุนนางสูงสุดประจ าท้องที่ แต่ต่อมาก็ให้มี
การตั้งต าแหน่งเฉิงเซี่ยง (อัครมหาเสนาบดี) ประจ าท้องที่มณฑลขนาดใหญ่อีก ปีที่ 7 แห่ง
รัชศกเหยียนโย่ว หรือ ค.ศ.1320 / พ.ศ.1863 ยกเลิกต าแหน่งเฉิงเซี่ยง (อัครมหาเสนาบดี)
ประท้องที่มณฑลอีกครั้ง ลดต าแหน่งผู้ที่ตั้งไปแล้วเป็นผิงจังเจิ้งซื่อ หลังรัชศกไท่ติ้ง หรือ ค.ศ.
1324 / พ.ศ.1867 ฟื้นต าแหน่งเฉิงเซี่ยง (อัครมหาเสนาบดี) ในบางมณฑล
เหตุการณ์ที่มีการกราบบังคมทูลเรื่องขอให้ตั้งเมืองมู่ไหลฝู่นี้เกิดขึ้นในปีที่ 29 แห่ง
รัชศกจื้อหยวนซึ่งเป็นปลายรัชศกแล้ว พ้นยุคของการส่งขุนนางส่วนกลางไปก ากับท้องที่
มณฑล ชื่อต าแหน่งไม่มีข้อความว่า “ปฏิบัติภารกิจจงซูเสิ่งแห่ง...” นอกจากนั้นข้อความที่ต่อ
จากข้อความนี้ในย่อหน้าเดียวกัน พบว่า “ขุนนางก ากับจงซูเสิ่ง” (อาจจะเป็นคนเดียวกับ
ข้างต้นหรือไม่ก็ได้) ได้กราบทูลเรื่องของมณฑลอื่นต่อจักรพรรดิหยวนซื่อจู่ในวันต่อๆ มาด้วย
ผู้แปลจึงสันนิษฐานว่า “ขุนนางก ากับจงซูเสิ่ง” นี้เป็นขุนนางฝ่ายบริหารส่วนกลางโดยตรง
มิใช่ขุนนางส่วนกลางที่ส่งไปปฏิบัติภารกิจจงซูเสิ่งประจ าท้องที่
2. จินฉื่อ(金齿)แปลว่าฟันทอง เป็นชอเผ่าโบราณ กระจายตัวอยู่ทางตะวันตกของ
ื่
ิ
มณฑลยูนนาน เป็นบรรพชนของชาวเผ่าไต ที่ หลังจากอาณาจักรมองโกลพิชตแคว้นต้าหลี่ได้
ในปี ค.ศ.1261 / พ.ศ.1804 ก็แบ่งเขตการปกครองในแคว้นต้าหลี่เป็น 5 เขต จินฉื่อหรือฟัน
ทองเป็นหนึ่งในนั้น สาเหตุที่เรียกว่าว่าฟันทอง สันนิษฐานเป็น 2 อย่าง หนึ่งคือนิยมกินหมาก
ฟันจึงเป็นสีม่วงด าออกทอง สองคือจากบันทึกของมาร์โคโปโล คนในพื้นที่นี้นิยมใชทองครอบ
้
ฟันทั้งบนและล่าง
7