Page 78 -
P. 78
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย
ประโยคที่ 7 你快走过来,别在那儿愣着。
ประโยคนี้มีปัญหาที่ค าว่า 过来 ซึ่งไม่มีค าแปลในภาษาไทย
ผู้แปลไม่ทราบจะเลือกใช้ค าใดดี บางคนแปลโดยตีความว่า แปลว่า
“ข้าม” จึงแปลว่า “คุณรีบเดินข้ามมา อย่ายืนนิ่งที่นั่น” บางคน
แปลว่า “คุณรีบเดินเข้ามา อย่ายืนนิ่งตรงนั้น” ค าแปลทั้งสองนี้พอ
เข้าใจได้ แต่อาจท าให้ผู้อ่านจินตนาการคลาดเคลื่อนว่า “ตรงนั้น” “ที่
นั่น” อยู่อีกฝั่งน้ าหรือฟากถนนกับผู้พูด หรืออยู่ข้างนอก ในขณะที่ผู้
พูดอยู่ข้างใน อันที่จริง 过来 ในประโยคนี้แสดงเพียงว่ามายังทิศทาง
ที่ผู้พูดอยู่เท่านั้น ประโยคนี้แปลได้ว่า “คุณรีบเดินมานี่ อย่ายืนอยู่
ตรงนั้น” ในภาษาจีนมีการใช้ เป็นส่วนเสริมกริยา 4 แบบ แบบที่ 1
ตรงกับแบบที่ปรากฏในประโยคนี้ คือแสดงว่ามายังทิศทางที่ตนอยู่
แบบที่ 2 แสดงว่าประจันหน้ากับผู้พูด เช่น 转过头来 (หันหน้ามา)
แบบที่ 3 แสดงว่ากลับไปสู่สภาพเดิม เช่น 醒悟过来 (ได้สติขึ้นมา)
และแบบที่ 4 แสดงว่ามีเวลาหรือมีความสามารถเพียงพอที่จะท า มัก
ใช้คู่กับ เช่น 干得过来 (ท าไหว)
จะเห็นได้ว่าการแปลส่วนเสริมกริยาให้ถูกต้อง ต้องแม่นใน
การวิเคราะห์ ถ้าผู้แปลไม่แน่ใจว่าส่วนเสริมนั้นมีความหมายอย่างไร
ได้บ้างต้องเปิดต าราไวยากรณ์หรือพจนานุกรมประกอบการตีความ
นอกจากนี้ยังต้องระมัดระวังเรื่องการใช้ภาษาเล็กๆ น้อยๆ ที่ท าให้
ตีความต่างไปจากต้นฉบับ ไม่พึงแปลตรงๆ จากภาษาจีนเป็น
ภาษาไทยเพราะภาพความคิดที่เกิดขึ้นนั้นต่างกัน
บทที่ 4 การแปลบทขยายและส่วนเสริม 71