Page 76 -
P. 76

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                      ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย

              แปลว่า “เขาภาษาอังกฤษพูดได้มาตรฐานมาก” ตรงตัว หรือปรับ

              เป็น “ภาษาอังกฤษของเขาพูดได้มาตรฐานมาก” อันที่จริงผู้ที่ท า

              กริยา “พูด” คือ “เขา” ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ แปลเป็นภาษาไทยว่า
              “เขาพูดภาษาอังกฤษได้มาตรฐาน” ก็เพียงพอแล้ว ตัดค าว่า “ได้” ซึ่ง

              ไม่จ าเป็นทิ้งไป และกลับประโยคให้เป็นโครงสร้างไวยากรณ์แบบไทย
              คือบอกผลของการกระท าไว้หลังกรรม

                     ประโยคที่ 4 那个明星长得很漂亮。


                     ภาษาไทยไม่มีการใช้ในลักษณะนี้ การแปลประโยคนี้เมื่อผู้
              แปลแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทยตรงตัวจะท าให้ผู้อ่านชาวไทยรู้สึก

              ผิดปกติทันที ภาษาจีนใช้ค าว่า 长 (เติบโต) แล้วตามด้วย 得  กับ

              ผลเพื่อบอกว่าสิ่งมีชีวิตเช่น คน สัตว์ พืช มีรูปร่างหน้าตาหรือ
              ลักษณะอย่างไร ประโยคลักษณะนี้ไม่สามารถแปลตรงเป็น “ดารา

              คนนั้นโตมาสวยมาก” ซึ่งความหมายจะเคลื่อนไปจากภาษาจีน ซึ่ง
              ไม่ได้มีความหมายเปรียบเทียบว่าตอนเด็กไม่สวย ตอนโตสวยกว่าแต่

              อย่างใด ประโยคนี้แปลว่า “ดาราคนนั้นหน้าตาสวย” หรือ “ดาราคน

              นั้นสวย (มาก)” ก็พอ ประโยคอื่นในลักษณะนี้ก็เช่นกัน 他长得很
              高。แปลว่า “เขามีรูปร่างสูง” “เขาสูง (มาก)” ไม่ใช่ “เขาโตมาสูง

              มาก”

                     ประโยคที่ 5 这一桌子点心你吃得完吗?

                     ประโยคนี้แปลได้ว่า “ขนมทั้งโต๊ะนี้คุณกินไหว/กินหมดหรือ”

              ส่วนเสริมกริยานี้ไม่ใช่ส่วนเสริมบอกผล แต่เป็นส่วนเสริมบอกความ



              บทที่ 4 การแปลบทขยายและส่วนเสริม                                                          69
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81