Page 72 -
P. 72

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                      ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย

                   4. เขาต้อนรับพวกเราอย่างอบอุ่น


                   5. เมื่อวานฉันไม่ได้มาโรงเรียน

                   6. ทันใดนั้นเขาก็ยิ้มให้ฉัน

                     ประโยคในลักษณะนี้ไม่เป็นปัญหาในการแปลภาษาจีนเป็น

              ภาษาไทยมากนัก เพราะมีโครงสร้างไม่ซับซ้อน แต่จะเป็นปัญหากับ

              ผู้เรียนระดับต้นในการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน เพราะมักเคยชิน
              กับโครงสร้างภาษาไทย แต่เมื่อประโยคยาวขึ้น ซับซ้อนขึ้น หรือใช้

              ค าศัพท์ยากขึ้น ผู้แปลจะสับสนและมีแนวโน้มในการ “เห็นอะไรก่อน
              แปลก่อน” ทันที วิธีการแก้ปัญหาคือ ผู้แปลต้องฝึกตนว่าทันทีที่เห็น

              ประโยคขนาดยาว ต้องหาให้ได้ก่อนว่าอะไรคือประธาน (หากมี)
              จากนั้นหากริยา-กรรม หรือถ้าไม่พบกริยาก็หาค าอื่นที่ท าหน้าที่เป็น

              ภาคแสดง เมื่อได้หน่วยหลักของประโยคแล้วค่อยหาบทขยายอื่นๆ
              ที่มาประกอบ ในการแปลให้น าบทขยายภาคแสดงไปไว้ด้านหลัง แต่

              ถ้าเป็นเวลาสามารถวางไว้หน้าประโยคหรือท้ายประโยคก็ได้

                     ลองพิจารณาประโยคต่อไปนี้




                     我在这里再次向您表示深深的歉意。

                     ผู้แปลต้องทราบก่อนว่า 我(ผม ดิฉัน) เป็นประธาน กริยา

              คือ 表示(แสดง) กรรมคือ 歉意(ความรู้สึกผิด ความไม่สบายใจ
              รู้สึกขอโทษ) บทขยายนามคือ 深深的(อย่างลึกซึ้ง ในที่นี้อาจปรับ

              เหลือเพียงอย่างมาก อย่างที่สุด อย่างสูง) มีบทขยายภาคแสดงบอก

              บทที่ 4 การแปลบทขยายและส่วนเสริม                                                          65
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77