Page 65 -
P. 65

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


              กนกพร นุ่มทอง

                     การตีความบทขยายนามยังมีประเด็นส าคัญอีกประเด็นคือ

              การวิเคราะห์บทขยายนามที่เป็นกริยา บุพบทวลีหรืออนุประโยค ซึ่ง

              มีประเด็นที่ท าให้สับสนได้มาก

                     โดยปกติเมื่อน ากริยามาขยายค านาม จะใส่ 的 ไว้ ผู้แปลจะ

              ทราบได้ว่ากริยานั้นเป็นกริยาหรือเป็นบทขยายนาม 订的酒店
              ทราบได้ว่า 订(จอง) เป็นบทขยายนาม 酒店(โรงแรม) เพราะมี 的
              รวมแล้วแปลว่า โรงแรมที่จอง 采取的措施 ทราบได้ว่า 采取(เลือก

              ไปใช้/น าไปปฏิบัติ) เป็นบทขยายนามของ 措施(มาตรการ) เพราะมี

              的 รวมแล้วแปลว่า มาตรการที่เลือกใช้/น าไปปฏิบัติ ซึ่งถ้าไม่มี จะ
              กลายเป็นกริยา+กรรมทันที เช่น 订酒店(จองโรงแรม)

              采取措施(เลือกใช้มาตรการ)

                     แต่หากเป็นกริยาสองพยางค์ที่ท าหน้าหน้าที่เป็นนามได้ด้วย

              ในภาษาจีนไม่จ าเป็นต้องใส่ 的 ผู้แปลมักสับสนว่าค านี้เป็นบทขยาย
              นามหรือเป็นกริยา เช่น 研究题目 เป็นได้ทั้งกริยา+กรรม (วิจัย+

              หัวข้อ) กับบทขยายนาม+นาม (ที่วิจัย+หัวข้อ) จะทราบได้ 研究 ท า
              หน้าที่กริยาหรือบทขยายนามได้ด้วยการพิจารณาบริบท แต่ผู้แปลที่

              มีประสบการณ์ไม่มากพออาจสับสนและมีแนวโน้ม “เห็นอะไรก่อน

              แปลก่อน” ตีความบทขยายนามเป็นกริยาโดยละเลยการพิจารณาค า
              อื่นๆ ประกอบ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ประโยคนั้นยาวและมี

              ศัพท์เฉพาะ เช่น







              58                                                         บทที่ 4 การแปลบทขยายและส่วนเสริม
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70